เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ก็คำว่า โดยลักษณะเป็นต้น ในที่นี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยลักษณะ
เป็นต้นเหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าวไว้ใน
หนหลังนั้นแล.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ในข้อว่า โดยลำดับ แม้ในที่นี้ บรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่ง
การเกิดเป็นต้นตามที่กล่าวไว้ก่อน ลำดับคือการแสดง (เทศนา) เท่านั้น
สมควร ก้ลำดับแห่งการแสดงนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจ
การกำหนดตามลำดับเหตุและผล. จริงอยู่ สองบทคือ จักขุธาตุและรูปธาตุ
นี้เป็นเหตุ คำว่า จักขุวิญญาณธาตุ นี้เป็นผล. พึงทราบวินิจฉัยในบท
ทั้งปวงโดยลำดับดังกล่าวมานี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีจำนวนเท่านั้น


ข้อว่า โดยมีจำนวนเท่านั้น ได้แก่ โดยจำนวนมีอยู่เท่านั้น คำนี้มี
อธิบายว่า ก็ในบทแห่งพระสูตรและพระอภิธรรมเหล่านั้น ๆ ธาตุแม้อื่น ๆ
ย่อมปรากฏมีอาทิอย่างนี้ว่า อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตธาตุ
สัญญาเวทยตนิโรธธาตุ กามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ
อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ โทมนัสธาตุ
อุเปกขาธาตุ อวิชชาธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ หีนธาตุ
มัชฌิมธาตุ ปณีตธาตุ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ
1. ลำดับมี 5 ตามที่กล่าวไว้ในเชิงอรรถหน้า 168

วิญญาณธาตุ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ โลกเป็นอเนกธาตุ และมีธาตุต่าง ๆ
ดังนี้.*
หากมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงไม่ทรงกำหนดจำนวนธาตุทั้งหมด ทรงกำหนดไว้ 18 ธาตุเท่านั้น.
ตอบว่า เพราะธาตุทุกอย่างมีอยู่โดยสภาวะรวมอยู่ภายในธาตุ 18
เหล่านั้น.
จริงอยู่ อาภาธาตุก็คือรูปธาตุนั่นเอง ก็สุภธาตุเป็นธาตุที่เนื่องด้วย
รูปธาตุเป็นต้น เพราะเหตุไร เพราะเป็นสุภนิมิต (เครื่องหมายของความดี)
จริงอยู่ สุภนิมิต ชื่อว่า สุภธาตุ และสุภนิมิตนั้นจะพ้นไปจากรูปเป็นต้น
ก็ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง สุภธาตุก็คือรูปธาตุเป็นต้นที่เป็นอารมณ์ของกุศลวิบาก
นั่นแหละ เพราะฉะนั้น สุภธาตุนี้จึงเป็นเพียงรูปธาตุเป็นต้นนั่นเอง. จิตใน
อากาสานัญจายตนธาตุเป็นต้นได้แก่มโนวิญญาณธาตุ. ธาตุที่เหลือเป็นธรรม-
ธาตุ. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุโดยสภาวะย่อมไม่มี เพราะสัญญาเวทยิต-
นิโรธธาตุนั้นเป็นเพียงการดับธาตุทั้งสอง (คือสัญญาและเวทนา) เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง กามธาตุย่อมเป็นเพียงธรรมธาตุ เหมือนอย่างพระดำรัส
ที่ตรัสไวุ้ (ข้อ 122) ว่า ตตฺถ กตมา กามธาตุ กามปฏิสํยุตฺโต
ตกฺโก ฯเปฯ มิจฺฉาสงิกปฺโป
ในธาตุ 6 กามธาตุเป็นไฉน ? ความตรึก
ความตรึกอย่างแรง ความดำริอันประกอบด้วยกาม ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า กามธาตุ. อีกอย่างหนึ่ง กามธาตุก็คือธาตุแม้ 18 อย่าง เหมือน
อย่างที่ตรัสไว้ว่า เบื้องล่างนับแต่อเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด ในระหว่างนี้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา
* ธาตุมีมาก ในที่นี้ท่านแสดงไว้ 35 ธาตุ

สัญญา สังขาร วิญญาณอันใดซึ่งท่องเที่ยวไปในที่นี้ นับเนื่องในเขตนี้ ธรรมนี้
เรียกว่า กามธาตุ.
เนกขัมมธาตุคือธรรมธาตุนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระบาลีว่า
กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ ดังนี้ เนกขัมมธาตุนั้นก็ย่อมเป็น
มโนวิญญาณธาตุได้เหมือนกัน. พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ อัพยาปาทธาตุ
อวิหิงสาธาตุ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ โทมนัสธาตุ อุเปกขาธาตุ
อวิชชาธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ เป็นธรรมธาตุนั่นเอง.
หีนธาตุ มัชฌิมธาตุ ปณีตธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ 18 เท่านั้น เพราะ
จักขุธาตุเป็นต้นที่เป็นหีนะ (เลว) ชื่อว่า หีนธาตุ จักขุเป็นต้นที่เป็นมัชฌิมะ
และปณีตะก็จัดเป็นมัชฌิมธาตุ และปณีตธาตุ.
แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุ
ที่เป็นอกุศล เป็นหีนธาตุ. กุศลและอัพยากตะทั้ง 2 ที่เป็นโลกิยะก็ดี
จักขุธาตุเป็นต้นก็ดี เป็นมัชฌิมธาตุ ส่วนธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุที่เป็น
โลกุตระ เป็นปณีตธาตุ. ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุก็คือโผฏฐัพพธาตุ
นั่นเอง. อาโปธาตุ และอากาศธาตุก็คือธรรมธาตุ วิญญาณธาตุย่อมเข้าใน
วิญญาณธาตุ 7 มีจักขุวิญญาณเป็นต้น. ธาตุ 17 และส่วนหนึ่งแห่งธรรมธาตุ
เป็นสังขตธาตุ แต่ส่วนหนึ่งแห่งธรรมธาตุนั้นแหละ เป็นอสังขตธาตุ ก็โลก
ที่เป็นอเนกธาตุ และนานาธาตุ เป็นสักแต่ว่าประเภทของธาตุ 18 เท่านั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุไว้ 18 เท่านั้น เพราะทั้งหมดมีโดยสภาวะ
รวมอยู่ภายในแห่งธาตุ 18 นั้น ดังพรรณหามาฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุไว้ 18 เท่านั้น เพื่อจะถอน
ความสำคัญว่ามีชีวะของสัตว์ผู้มีความสำคัญว่ามีชีวะในวิญญาณซึ่งมีการรู้อารมณ์

เป็นสภาวะ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญว่ามีชีวะในวิญญาณซึ่งมีการรู้
อารมณ์เป็นสภาวะมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เพื่อจะถอนขึ้นซึ่งความ
สำคัญว่ามีชีวะอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนานของสัตว์เหล่านั้น จึงประกาศความ
มีมากมายแห่งธาตุนั้นโดยแยกเป็นจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆาน-
วิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
และประกาศความที่ธาตุเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เพราะต้องเป็นไปเนื่องด้วย
ปัจจัยมีจักขุและรูปเป็นต้น จึงทรงประกาศธาตุไว้ 18 อย่าง อนึ่ง เหตุอะไร ๆ
อื่นยิ่งที่พระองค์ทรงประกาศธาตุ 18 อย่าง ด้วยอำนาจอัชฌาศัยของ
เวไนยสัตว์และด้วยอำนาจอัชฌาศัยเวไนยสัตว์โดยเทศนาที่ไม่ย่อและไม่พิสดาร
เกินไปนี้โดยแท้.
จริงอยู่ ความมืดในหทัยของเวไนย-
สัตว์ จะถึงความย่อยยับไปโดยพลัน อันขจัด
ได้ด้วยเดชแห่งพระสัทธรรมของพระองค์ได้
โดยประการใด ๆ พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมโดยนัยอันย่อและพิสดาร โดยประการ
นั้น ๆ แล.

พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้ โดยจำนวนมีเท่านั้นอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการนับ


ข้อว่า โดยการนับ คือ ว่าโดยชาติ จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุประสาท
ย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรมอันหนึ่งเท่านั้นก่อน โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ