เมนู

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ โดย
ลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยมีจำนวน
เท่านั้น โดยการนับ โดยปัจจัย และโดยเป็น
ธรรมที่ควรเห็น.


ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


บรรดาอุทเทสเหล่านั้น คำว่า โดยอรรถ พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ
ที่แปลกกันของธรรมมีจักขุเป็นต้น โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า จักขุ
เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงตนให้ปรากฏ
ความรู้ (วิญญาณ) ทางจักขุ ชื่อว่า จักขุวิญญาณ ดังนี้ก่อน.
ส่วนโดยไม่แปลกกันมีวินิจฉัย ดังนี้
ที่ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า ย่อมจัดแจง เพราะอรรถว่าย่อมทรง
ไว้ เพราะอรรถว่าเป็นการจัดแจง เพราะอรรถว่าเป็นเหตุทรงไว้โดยประการ
ต่าง ๆ หรือเพราะอรรถว่าเป็นที่ทรงไว้.
จริงอยู่ ธาตุทั้งหลายที่เป็นโลกีย์ เป็นธาตุที่กำหนดไว้โดยความเป็น
เหตุ ย่อมจัดแจงสังสารทุกข์ไว้หลายประการ เหมือนธาตุที่เป็นทองและเงิน
เป็นต้น ที่บุคคลจัดทำเป็นทองและเงินเป็นต้น อนึ่ง ธาตุทั้งหลายอันสัตว์ย่อม
ทรงไว้ คือรองรับไว้ เหมือนของหนักที่แบกไปอยู่. อนึ่ง ธาตุเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นเพียงจัดแจงทุกข์ไว้เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ อนึ่ง ธาตุเหล่านั้น
เป็นเหตุให้พวกสัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปสู่สังสารทุกข์ อนึ่ง ธาตุที่เป็นเหตุ
เหล่านี้ เป็นที่ตั้ง คือเป็นที่ยังสังสารทุกข์ให้สถิตอยู่ ในบรรดาจักขุเป็นต้น

ธรรมแต่ละอย่างท่านเรียกว่า ธาตุ ด้วยอรรถว่า ย่อมจัดแจง ย่อมทรงไว้
เป็นต้น ด้วยอำนาจการมีอยู่ ตามที่มีอยู่จริง ดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า อัตตาของพวกเดียรถีย์ย่อมไม่มีโดยภาวะ
ของตนฉันใด ธาตุเหล่านี้ย่อมเป็นฉันนั้น หามิได้ ก็ที่เรียกว่า ธาตุ เพราะ
อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน เปรียบเหมือนส่วนแห่งศิลามีหรดาลและ
มโนศิลาเป็นต้น อันวิจิตรในโลก เรียกว่า ธาตุ ฉันใด ธาตุ (มีจักขุเป็นต้น)
แม้เหล่านั้น ก็เรียกว่าธาตุฉันนั้นเหมือนกัน เพราะธาตุอันธรรมเหล่านั้นเป็น
อวัยวะที่พึงรู้ได้ด้วยญาณเท่านั้น หรือว่าในส่วนทั้งหลายมีรสและเลือดเป็นต้น
ซึ่งกำหนดด้วยลักษณะที่ตรงกันข้ามซึ่งกันและกัน อันเป็นส่วนของกายที่ตั้งขึ้น
คือ สรีระ ท่านเรียกชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนของอัตภาพกล่าวคือเบญจขันธ์
แม้นี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้นนั่นแหละ เพราะว่า จักขุเป็นต้น
เหล่านี้ ท่านกำหนดโดยลักษณะที่ต่างซึ่งกันและกัน.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธาตุ นี้ เป็นเพียงชื่อของสิ่งปราศจากชีวะ
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธาตุ เพื่อถอนความสำคัญว่ามี
ชีวะไว้ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ฉ ธาตุโร อยํ ภิกฺขุ ปุริโส (ดูก่อนภิกษุ คน
นี้มีธาตุ 6) ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ชื่อว่า จักขุธาตุ เพราะอรรถว่า
เป็นจักขุด้วย เป็นธาตุด้วย ฯลฯ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะอรรถว่า
เป็นมโนวิญญาณด้วย เป็นธาตุด้วย โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วแล.
พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น


ก็คำว่า โดยลักษณะเป็นต้น ในที่นี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยลักษณะ
เป็นต้นเหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าวไว้ใน
หนหลังนั้นแล.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ในข้อว่า โดยลำดับ แม้ในที่นี้ บรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่ง
การเกิดเป็นต้นตามที่กล่าวไว้ก่อน ลำดับคือการแสดง (เทศนา) เท่านั้น
สมควร ก้ลำดับแห่งการแสดงนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจ
การกำหนดตามลำดับเหตุและผล. จริงอยู่ สองบทคือ จักขุธาตุและรูปธาตุ
นี้เป็นเหตุ คำว่า จักขุวิญญาณธาตุ นี้เป็นผล. พึงทราบวินิจฉัยในบท
ทั้งปวงโดยลำดับดังกล่าวมานี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีจำนวนเท่านั้น


ข้อว่า โดยมีจำนวนเท่านั้น ได้แก่ โดยจำนวนมีอยู่เท่านั้น คำนี้มี
อธิบายว่า ก็ในบทแห่งพระสูตรและพระอภิธรรมเหล่านั้น ๆ ธาตุแม้อื่น ๆ
ย่อมปรากฏมีอาทิอย่างนี้ว่า อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตธาตุ
สัญญาเวทยตนิโรธธาตุ กามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ
อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ โทมนัสธาตุ
อุเปกขาธาตุ อวิชชาธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ หีนธาตุ
มัชฌิมธาตุ ปณีตธาตุ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ
1. ลำดับมี 5 ตามที่กล่าวไว้ในเชิงอรรถหน้า 168