เมนู

อภิธรรมภาชนีย์


[124 ]

ธาตุ 18 คือ


1. จักขุธาตุ
2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณธาตุ
4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ
6. โสตวิญญาณธาตุ
7. ฆานธาตุ
8. คันธธาตุ
9. ฆานวิญญาณธาตุ
10. ชิวหาธาตุ
11. รสธาตุ
12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ
14. โผฏฐัพพธาตุ
15. กายวิญญาณธาตุ
16. มโนธาตุ
17. ธรรมธาตุ
18. มโนวิญญาณธาตุ.

[ 125] ในธาตุ 18 นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน ?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ1 นี้เรียกว่า บ้านว่าง
บ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ.
รูปธาตุ เป็นไฉน ?
รูปใด อาศัยมหาภูตรูป 4 ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง
นี้เรียกว่า รูปธาตุ.
จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์
เกิด นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ.
[126] โสตธาตุ เป็นไฉน ?
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่า
บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ.
สัททธาตุ เป็นไฉน ?
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เห็นไม่ได้ กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ.
โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและ
สัททารม์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ.
1. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูควานเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์ตั้งแต่ข้อ (516)
เป็นลำดับไป

[127] ฆานธาตุ เป็นไฉน ?
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
บ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ.
คันธธาตุ เป็นไฉน ?
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ.
ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนาตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและ
คันธารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ.
[128] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน ?
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
บ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ.
รสธาตุ เป็นไฉน ?
รสใด อาศัยมหาภูตรูป เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ.
ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและ
รสารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ.

[129] กายธาตุ เป็นไฉน ?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
บ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ.
โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพาธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ.
กายวิยญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏ-
ฐัพพารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ.
[130] มโนธาตุ เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งกาเกิดดับของ
จักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ
จิต ฯลฯ ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดใน
ลำดับ แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ที่แรกใน
ธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ.
ธรรมธาตุ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้
นับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ.
ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์หมวดละ 1 คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์
หมวดละ 2 คือ เวทนาขันธ์ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ 3
คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์
หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?
สัญญาขันธ์หมวดละ 1 คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์
หมวดละ 2 คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ
3 คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์
หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.
สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?
สังขารขันธืหมวดละ 1 คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์
หมวดละ 2 คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ 3 คือ
สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ
มากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.
รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ
เป็นไฉน ?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบ
ไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ.
อสังขตธาตุ เป็นไฉน ?
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ.
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน
มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ
มโนะธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ
ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ
แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน
มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโน-
วิญญาณธาตุ.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธาตุแม้ทั้งหมดในอภิธรรมภาชนีย์
โดยรวบรัดเท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อฏฺฐารส ธาตุโย จกฺขุธาตุ รูปธาตุ
(ธาตุ 18 คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ) ดังนี้. ในการวรรณนาอภิธรรมภาชนีย์นั้น
พึงทราบวาระด้วยอุเทศก่อน.
อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมตาวตฺวสํขโต
ปจฺจยา อถ ทฏฺฐพฺพา เวทิตพฺโพ วินจฺฉโย