เมนู

ติดกัน. ก็บทว่า กณฺณจฺฉิทฺทํ (ช่องหู) เป็นต้นนี้ เป็นแสดงประเภท
ธรรมคือเนื้อและเลือดไม่ติดนั้นนั่นแหละ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
กณฺณจฺฉิทฺทํ ได้แก่ ช่อง คือ โพรงในหูเป็นโอกาส (คือช่องว่าง) ที่
เนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เยน* (ด้วยช่อง 2) ความว่า สัตว์ย่อมกลืนกินสิ่งที่ควร
ของกินเป็นต้นนี้ ให้เข้าไปภายใน ด้วยช่องใด. บทว่า ยตฺถ (ที่ใด)
ความว่า อาหารที่กลืนกินเข้าไป 4 อย่างนี้นั้นแหละ ย่อมตั้งอยู่ในโอกาส
(ช่องว่าง) กล่าวคือในภายในกระเพาะอันใด. บทว่า เยน (โดยช่องใด)
ความว่า อาหาร 4 อย่างนั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งย่อยแล้ว ถึงความเป็นกากแล้ว
ย่อมออกไป โดยช่องใด ช่องนั้นจากเพดานท้องถึงทวารหนักมีประมาณ 1 คืบ
4 นิ้ว เป็นที่อันเนื้อและเลือดได้ถูกต้อง คือเป็นที่อันเนื้อและเลือดไม่ติดกัน
พึงทราบว่า เป็นอากาสธาตุ.
ในบทว่า ยํ วา ปน นี้ ได้แก่ ช่องว่างทั้งหมดนี้ คือ ช่องว่าง
ระหว่างหนัง ช่องว่างระหว่างเนื้อ ช่องว่างระหว่างเอ็น ช่องว่างระหว่าง
กระดูก ช่องว่างระหว่างขน ท่านรวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายนอก


พึงทราบวินิจฉัยอากาสธาตุภายนอก ต่อไป
คำว่า อสมฺผุฏฺฐํ จตูหิ มหาภูเตหิ (ที่อันมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้อง)
นั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นช่องฝาเรือน ช่องประตูเป็นต้นอันมหาภูตรูป 4
* บทว่า เยน บทว่า ยตฺถ และบทว่า เยน โดยลำดับ สำนวนในพระไตรปิฎกฉบับแปลท่าน
ตัดออก แต่ถ้าไม่ตัดออกจะมีเนื้อความตามที่ท่านอรรถกถากล่าวไว้นี้.

ไม่ติดกัน. เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมในอากาสใด ฌานหมวด 4 หรือฌาน
หมวด 5 ย่อมเกิดขึ้น คำนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยคำที่เป็นอากาสภายนอกนี้.

นิเทศวิญญาณธาตุ


พึงทราบวินิจฉัยนิเทศวิญญาณธาตุ ต่อไป
ธาตุกล่าวคือ จักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ. แม้ในธาตุ
ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. เมื่อพระโยคาวจรกำหนดธาตุ 6 เหล่านั้น ด้วยประโยคการ
ฉะนี้แล้ว ธาตุ 18 ชื่อว่า เป็นอันกำหนดแล้วได้อย่างไร ? คือโผฏฐัพพธาตุ
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปถวี เตโช วาโย นั่นแหละก่อน.
ธรรมธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า อาโปธาตุ และอากาสธาตุนั้นเป็น
มโนธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่าวิญญาณ เพราะความที่มโนธาตุนั้น
เป็นธรรมเกิดก่อนและเกิดหลังของวิญญาณธาตุนั้นทีเดียว มีจักขุวิญญาณธาตุ
เป็นต้นมาแล้วในสูตรนั่นแหละ ธาตุ 9 อย่างที่เหลือบัณฑิตพึงนำมาแสดง.
จริงอยู่ จักขุธาตุอันเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณธาตุนั้น และรูป
ธาตุอันเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุนั้น ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์
ว่า จักขุวิญญาณธาตุ. ด้วยประการฉะนี้ โสตธาตุเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันท่าน
ถือเอาด้วยศัพท์ว่า โสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ธาตุแม้ 18 ก็ย่อมเป็นอันถือเอา
แล้วด้วยประการฉะนี้.
บรรดาธาตุ 18 เหล่านั้น ท่านกำหนดรูปธาตุไว้ 10 กำหนดอรูป
ธาตุไว้ 7 ในธรรมธาตุ ท่านกำหนดเอารูปธาตุก็ กำหนดเอาอรูปธาตุก็มี
* มโนธาตุ 3 คือ อเหตุกกิริยา (ปัญจทวาราวัชชนจิต) 1 ดวง อเหตุกวิบาก (สัมปฏิฉันนจิต)
2 ดวง.