เมนู

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญาณธาตุ
ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า วิญญาณขันธ์.
อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการแห่งขันธ์ 5 นี้ รูปแม้ทั้งหมดที่เกิดจาก
สมุฏฐานทั้ง 4 (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร) ชื่อว่า รูปขันธ์ เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับจิต 89 มีกามาวจรกุศลจิต 8 เป็นต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์
แม้สัญญาก็ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็ชื่อว่า สังขารขันธ์
จิต 89 ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ 5 แม้
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายรูปขันธ์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงจำแนกแสดงรูปขันธ์
เป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตถฺ กตโม รูปกฺขนฺโธ ในขันธ์
5 นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในขันธวิภังค์นั้น ดังนี้
บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในขันธ์ 5 เหล่านั้น บทว่า กตโม เป็น
กเถตุกัมยตาปุจฉา. บทว่า รูปกฺขนฺโธ (รูปขันธ์) เป็นบทแสดงธรรมที่
ทรงปุจฉา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกรูปขันธ์นั้นในบัดนี้ จึงตรัส
พระดำรัสมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ยํ กิญฺจิ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นบทที่ทรงถือเอาโดยไม่เหลือ. บทว่า
รูปํ (รูป) เป็นบทกำหนดธรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ แม้
ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นอันทรงทำการกำหนดเอารูปโดยไม่มีส่วนเหลือ.
ถามว่า ในรูปขันธ์นั้น ธรรมที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่ากระไร
ตอบว่า ที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่า ย่อยยับ.