เมนู

เบื้องบนเป็นต้นแล้ว มนสิการว่า ขึ้นชื่อว่า ลมพัดขึ้นเบื้องบนเป็นโกกฐาส
หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์
มีอาการเคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ ดังนี้. แม้ในลมที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ยํ วา ปน (ก็หรือลมใด) ได้แก่ ลมที่พัดไปในโกฏฐาส
วาโยธาคุที่เหลือ ก็รวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัยในที่นี้.

นิเทศวาโยธาตุภายนอก


บทว่า ปุรตฺถิมา วาตา (ลมตะวันออก) ได้แก่ ลมที่พัดมาจาก
ทิศตะวันออก แม้ในลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
บทว่า สรชา วาตา (ลมมีฝุ่นละออง) ได้แก่ลมพัดไปพร้อมกับ
ฝุ่นละออง ชื่อว่า ลมมีฝุ่นละออง.
บทว่า อรชา วาตา (ลมไม่มีฝุ่นละออง) ได้แก่ ลมอย่างเดียว
ปราศจากฝุ่นละออง ชื่อว่า ลมไม่มีฝุ่นละออง.
บทว่า สีตา (ลมหนาว) ได้แก่ลมที่มีฤดูหนาวเป็นสมุฏฐานตั้งขึ้น
ในระหว่างเมฆที่เย็น.
บทว่า อุณฺหา (ลมร้อน) ได้แก่ลมที่มีฤดูร้อนเป็นสมุฏฐานตั้งขึ้น
ในภายในเมฆที่ร้อน.
บทว่า ปริตฺตา (ลมอ่อน) ได้แก่ลมพัดมาอ่อน ๆ คือพัดมาเบา ๆ
บทว่า อุธิมตฺตา (ลมแรง) ได้แก่ ลมที่พัดมาแรง.
บทว่า กาฬา (ลมดำ) ได้แก่ ลมที่ตั้งขึ้นภายในเมฆดำ อาจารย์
พวกหนึ่งกล่าวว่า คำว่า ลมดำ นี้ เป็นชื่อของลมที่พัดทำให้ผิวดำดังนี้ก็มี.

บทว่า เวรมฺภวาตา (ลมบน)* ได้แก่ ลมพัดไปเกินหนึ่งโยชน์.
บทว่า ปกฺขวาตา (ลมกระพือปีก) ได้แก่ ลมที่ตั้งขึ้นแก่การ
กระพือปีกโดยที่สุดแม้แมลงวัน.
บทว่า สุปณฺณวาตา ได้แก่ ลมครุฑ แม้ลมครุฑนี้จะเป็นลมเกิด
แต่ปีกก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ถือไว้ส่วนหนึ่งด้วยสามารถเป็นลมแรง.
บทว่า ตาลวณฺฑวาตา (ลมใบตาล) ได้แก่ ลมที่เกิดแต่ใบตาล
หรือวัตถุมีสัณฐานกลมอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า วธูปนวาตา (ลมใบพัด) ได้แก่ ลมที่เกิดขึ้นด้วยใบพัด
ก็ลมที่เกิดแต่ใบตาล และลมใบพัดเหล่านั้น ย่อมยังลมแม้ไม่เกิดในเกิด นี้
แม้ที่เกิดแล้วก็ให้เปลี่ยนไป.
ในบทว่า ยํ วา ปน นี้ ได้แก่ ลมที่เหลือ เว้นลมที่มาในบาลี
แล้วรวมเข้าในฐานะเป็นเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอากาสธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า อากาส เพราะอรรถว่า ย่อมไถไม่ได้ โดยอรรถว่ากระทบ
ไม่ได้ อากาสนั่นเอง ชื่อว่า อากาสคตํ (ธรรมชาติอันนับว่าอากาส)
เพราะถึงภาวะเป็นกากาส. ที่ชื่อว่า อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะเป็นสิ่งที่
กระทบไม่ได้. บทว่า วิวโร (ช่องว่าง) ได้แก่ ช่องในระหว่าง ช่องว่าง
นั้นนั่นเองชื่อว่า ววรคตํ (ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง). บทว่า อสมฺผุฏฐํ
มํสโลหิเตหิ (ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง) ได้แก่ ที่อันเนื้อและเลือดไม่
* ค่าว่า เวรมฺภวาตา หมายถึงลมพายุใหญ่