เมนู

นิเทศเตโชธาตุภายนอก


ไฟมีไม้เป็นเชื้อลุกโพลงเพราะอาศัยไม้ ชื่อว่า กัฏฐัคคิ (ไฟฟืน).
แม้ในคำมีอาทิว่าไฟสะเก็ดไม้ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สงฺการคฺคิ (ไฟหยากเยื่อ) ได้แก่ ไฟที่บุคคลลากเอา
หยากเยื่อมาทำให้โพลงขึ้น ชื่อว่า ไฟหยากเยื่อ.
บทว่า อินฺทคฺคิ ได้แก่ ไฟอสนีบาต (ฟ้าผ่า).
บทว่า อคฺคิสนฺตาโป (ความร้อนแห่งไฟ) ได้แก่ ความร้อนของ
เปลวไฟ หรือของถ่านไฟที่ปราศจากเปลว.
บทว่า สุริยสนฺตาโป (ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ได้แก่ แดด.
บทว่า กฏฺฐสนฺนิจยสนฺคาโป (ความร้อนแห่งกองฟืน) ได้แก่
ความร้อนในกองฟืน. ในบทแม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ยํ วา ปน (หรือว่าไฟธาตุใด) ได้แก่ ไฟไหม้เปรต
ไฟที่ยังกัปให้พินาศ และไฟในนรกเป็นต้นก็รวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย
ในที่นี้.

นิเทศวาโยธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศวาโยธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า วาโย ด้วยสามารถความพัดไปมา วาโยนั่นแหละ ชื่อว่า
วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงความเป็นวาโย.
บทว่า ถมฺภิตตฺตํ รูปสฺส (ความเคร่งตึงแห่งรูป) ได้แก่ ความ
เคร่งตึงแห่งอวินิโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ 8 รูป).

บทว่า อุทฺธงฺคมา วาตา (ลมพัดขึ้นเบื้องบน) ได้แก่ ลมพัด
ขึ้นข้างบนทำให้อาเจียนและสะอึกเป็นต้น.
บทว่า อโธคฺมา วาตา (ลมพัดลงเบื้องคำ) ได้แก่ ลมพัดลง
เบื้องต่ำซึ่งยังอุจจาระและปัสสาวะเป็นต้น ให้ออกไป.
บทว่า กุจฺฉิสยา วาตา (ลมในท้อง) ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอก
ลำไส้ใหญ่.
บทว่า โกฏฐาสยา วาตา (ลมในไส้) ได้แก่ ลมภายในไส้ใหญ่
ทั้งหลาย.
บทว่า องฺคมงฺคานุสาริโน วาตา (ลมพัดไปตามควัน) ได้แก่
ลมที่พัดไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในสรีระทั้งสิ้น โดยพัดไปตามช่องของเส้นเอ็น
ทำให้เกิดงอมือและเหยียดมือเป็นต้น. บทว่า สตฺถกวาตา (ลมศัสตรา)
ได้แก่ ลมที่พัดไป เหมือนเอากรรไกรตัดข้อต่อและเส้นเอ็น. บทว่า ขรกวาตา
(ลมมีดโกน) ได้แก่ ลมผ่าหัวใจ เหมือนผ่าด้วยมีดโกน. บทว่า อุปฺปลกวาตา
(ลมเพิกหัวใจ) ได้แก่ ลมที่ทำลายเนื้อหัวใจนั่นแหละ.
บทว่า อสฺสาโส (ลมหายใจเข้า) ได้แก่ ลมจมูกเข้าไปในภายใน.
บทว่า ปสฺสาโส (ลมหายใจออก) ได้แก่ ลมจมูกออกไปภายนอก. ก็ลม
ในภายในนี้ ลมทั้งหมดข้างต้นมีสมุฏฐาน 4 ลมหายใจเข้าลมหายใจออกมีจิต
เป็นสมุฏฐานอย่างเดียว.
การพรรณนาบทในธาตุนี้ มีเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการวาโยธาตุ


อนึ่ง วิธีมนสิการ มีดังต่อไปนี้ ภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดลมทั้งหลาย
อันต่างด้วยลมพัดขึ้นเบื้องเป็นต้น ด้วยสามารถการพิจารณาลมพัดขึ้น