เมนู

นิเทศเตโชธาตุภายนอก


ไฟมีไม้เป็นเชื้อลุกโพลงเพราะอาศัยไม้ ชื่อว่า กัฏฐัคคิ (ไฟฟืน).
แม้ในคำมีอาทิว่าไฟสะเก็ดไม้ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สงฺการคฺคิ (ไฟหยากเยื่อ) ได้แก่ ไฟที่บุคคลลากเอา
หยากเยื่อมาทำให้โพลงขึ้น ชื่อว่า ไฟหยากเยื่อ.
บทว่า อินฺทคฺคิ ได้แก่ ไฟอสนีบาต (ฟ้าผ่า).
บทว่า อคฺคิสนฺตาโป (ความร้อนแห่งไฟ) ได้แก่ ความร้อนของ
เปลวไฟ หรือของถ่านไฟที่ปราศจากเปลว.
บทว่า สุริยสนฺตาโป (ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ได้แก่ แดด.
บทว่า กฏฺฐสนฺนิจยสนฺคาโป (ความร้อนแห่งกองฟืน) ได้แก่
ความร้อนในกองฟืน. ในบทแม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
บทว่า ยํ วา ปน (หรือว่าไฟธาตุใด) ได้แก่ ไฟไหม้เปรต
ไฟที่ยังกัปให้พินาศ และไฟในนรกเป็นต้นก็รวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย
ในที่นี้.

นิเทศวาโยธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศวาโยธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า วาโย ด้วยสามารถความพัดไปมา วาโยนั่นแหละ ชื่อว่า
วาโยคตํ (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงความเป็นวาโย.
บทว่า ถมฺภิตตฺตํ รูปสฺส (ความเคร่งตึงแห่งรูป) ได้แก่ ความ
เคร่งตึงแห่งอวินิโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ 8 รูป).