เมนู

คำว่า เยน จ อสิตปีติขายิตสายิตํ สมฺมา ปริณามํ คจฺฉติ
(เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี) ความว่า
ของกินมีข้าวสุกเป็นต้นก็ดี ของดื่มมีน้ำดื่มเป็นต้นก็ดี ของเคี้ยวมีของเคี้ยว
ที่เป็นแป้งก็ดี ของลิ้มมีผลมะม่วงสุกน้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี ย่อมถึงการย่อย
คือย่อมละลายไปโดยความเป็นรสเป็นต้น ด้วยธาตุใด อนึ่ง ในเตโชธาตุ 4
เหล่านี้ เตโชธาตุ 3 ข้างนี้มีสมุฏฐาน 4 อย่าง เตโชธาตุหลังมีกรรมเป็น
สมุฏฐานอย่างเดียว.
วรรณนาบทในเตโชธาตุมีเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการเตโชธาตุ


ก็วิธีมนสิการเตโชธาตุ มีดังต่อไปนี้.
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการว่า กายนี้ย่อมร้อน (อบอุ่น)
ด้วยธาตุ ธาตุนี้เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา
เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ มีอาการทำให้ร้อน ชื่อว่า เตโชธาตุ
ดังนี้ ย่อมมนสิการว่ากายนี้ย่อมทรุดโทรมด้วยธาตุใด ย่อมเร่าร้อนด้วยธาตุใด
ย่อมยังของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มให้ถึงการย่อยด้วยดี ด้วยธาตุใด
ธาตุนี้ เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ
เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ มีอาการทำให้ร้อน ชื่อว่า เตโชธาตุ ดังนี้.
บทว่า ยํ วา ปน (หรือธาตุใด) ความว่า ในสรีระนี้ มีอุตุ
(คือไออุ่น) ชนิดหนึ่งเป็นปกติ อุตุนั้นก็รวมเข้าฐานของเยวาปนกนัย.