เมนู

บทว่า ภุมฺมานิ (พื้นดิน) ได้แก่ น้ำที่อยู่ในบ่อเป็นต้น.
บทว่า อมฺตกฺขานิ (อากาศ) ได้แก่ น้ำฝนที่ยังไม่ตกถึงแผ่นดิน.
บทว่า ยํ วา ปน (ก็หรือว่า น้ำใด) ได้แก่ น้ำหิมะ น้ำยังกับ
ให้พินาศ น้ำรองแผ่นดินเป็นต้นจัดเข้าฐานะในเยวาปนกนัย ในที่นี้.

นิเทศเตโชธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเตโชธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า เตโช (ธาตุไฟ) ด้วยสามารถแห่งความร้อน. เตโชนั่นแหละ
ชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นของ
ร้อน. บทว่า อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่ อาการร้อน. ความอุ่นนั่นเอง
ชื่อว่า อุสฺมาคตํ ( ธรรมชาติที่อุ่น) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นอาการ
ร้อน.
บทว่า เยน จ ได้แก่ ธรรมชาติที่ร้อนอันกำเริบแล้ว.
บทว่า สนฺตปฺปติ (ย่อมร้อน) ได้แก่กายนี้ย่อมร้อน คือ เกิดไออุ่น
โดยภาวะที่มีความแก่สิ้นวันหนึ่งเป็นต้น.
คำว่า เยน จ ชิรยติ (เตโชธาตุทำให้ทรุดโทรม) ได้แก่ กายนี้
ย่อมทรุดโทรมย่อมถึงความขาดแคลนแห่งอินทรีย์ สิ้นกำลัง และภาวะมี
หนังเหี่ยว และผมหงอกเป็นต้น ด้วยธาตุใด.
คำว่า เยน จ ปริฑยฺหติ (เตโชธาตุที่ทำให้เร่าร้อน) ได้แก่
กายนี้ถูกธาตุใดที่กำเริบแผดเผา และบุคคลนั้น ก็จะครำครวญว่า เราร้อน
เร่าร้อน ดังนี้ ก็จะหวังเอาเนยใสที่ชำระตั้งร้อยครั้งและจันทน์แดงเป็นต้นมา
ไล้ทา และลมจากพัดในตาล.