เมนู

ภายนอกอันใด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดปฐวีธาตุแม้ทั้ง 2 โดย
ลักษณะว่าเป็นปฐวีธาตุอันเดียวเท่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติแข็ง ดังนี้.

นิเทศอาโปธาตุภายใน


ในนิเทศอาโปธาตุเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหันหลังนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อาโป อาโปคตํ (ควานเอิบอาบ ธรรมชาติที่
เอิบอาบ) ดังนี้เป็นต้น ที่ชื่อว่า อาโป (ความเอิบอาบ) ด้วยอำนาจความ
เกาะกุม คำว่า อาโป นั้นนั่นแหละ ทีชื่อว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ)
เพราะตามที่อาโปธาตุน้ำนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นสภาพแห่งอาโป. ที่ชื่อว่า
สิเนโห (ความเหนียว) ด้วยอำนาจแห่งสิเนหา ความสิเนหานั้นนั่นแหละ.
ชื่อว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว) เพราะถึงสภาพแห่งความเหนียว.
บทว่า พนฺนตฺตํ รูปสฺส (ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป) ได้แก่
เครื่องผูกของอวินิโภครูป (รูปที่แยกออกไม่ได้ 8 รูป). แม้คำว่า ปีตฺตํ
(น้ำดี) เสมฺหํ (เสลด) เป็นต้น พระโยคีพึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งความ
เป็นธาตุนั้นแหละ โดยกำหนดถือเอาด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส
และปริจเฉท.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ปิตฺตํ (น้ำดี)


ในอธิการแห่งอาโปธาตุนั้น มีนัยดังต่อไปนี้
ก็บรรดาน้ำดีทั้งหลาย น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง (อพทฺธปิตฺตํ) ตั้งอยู่
ซึมซาบสรีระทั้งสิ้นอันเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ น้ำดีที่อยู่ในถุง (พทฺธปิตฺตํ)
ตั้งอยู่ในถุงของน้ำดี. บรรดาน้ำดีทั้ง 2 เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า