เมนู

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง)


มตฺถลุงฺคํ มันสมอง

ตั้งอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ในมันสมองนั้น
พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบุคคลเอาก้อนแป้งใส่ในกะโหลกน้ำเต้าเก่า กะ-
โหลกน้ำเต้าเก่าย่อมไม่รู้ว่า ก้อนแป้งตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนแป้งก็ไม่รู้ว่า
เราตั้งอยู่ในกะโหลกน้ำเต้า ดังนี้ ฉันใด ภายในกะโหลกศีรษะก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า มันสมองตั้งอยู่ในเรา แม้มันสมองเล่าก็ไม่รู้ว่า เรา
ตั้งอยู่ในกะโหลกศีรษะ
ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณา
ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า มันสมองที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ
ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ
แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

นิเทศปฐวีธาตุภายนอก


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปฐวีธาตุภายนอก บทว่า อโย (เหล็ก)
ได้แก่ โลหะดำ.
บทว่า โลหํ (โลหะ) ได้แก่ โลหะ 4 ชนิด คือ ชาติโลหะ 1
วิชาตโลหะ 1 กิตติมโลหะ 1 ปีสาจโลหะ 1 บรรดาโลหะ เหล่านั้น
โลหะ 7 ชนิดเหล่านั้น คือ อโย (เหล็ก) สชฺฌุ (เงิน) สุวณฺณํ (ทอง)
ติปุ (ดีบุก) สีสํ (ตะกั่ว) ตมฺพโลหํ (ทองแดง) เวกนฺตกโลหํ
(ทองเหลือง) ชื่อว่า ชาติโลหะ โลหะมีลักษณะดังงวงช้าง ชื่อว่า วิชาติโลหะ
โลหะ 3 อย่าง คือ กังสโลหะ วัฏฏโลหะ อารกูฏ ชื่อว่า กิตติมโลหะ
โลหะ 8 คือ โมรักขกะ ปุถุกะ มลีนกะ จปลกะ เสลกะ อาฏกะ ตัลลกะ
ทุสิโลหะ ชื่อว่า ปีสาจโลหะ บรรดาโลหะเหล่านั้น ชาติโลหะ 5 (ข้างต้น)
ตรัสไว้แผนกหนึ่งในพระบาลี แต่โลหะที่เหลือแม้ทั้งหมดกับชาติโลหะ 2
เหล่านี้ คือ ทองแดง และทองเหลือง พึงทราบว่า โลหะ ในทีนี้.

บทว่า ติปุ (ดีบุก) ได้แก่ ดีบุกขาว. บทว่า สีสํ ได้แก่ดีบุกดำ.
บทว่า สชฺฌุ แปลว่า เงิน. บทว่า มุตฺตา (แก้วมุกดา) ได้แก่ แก้วมุกดา
เกิดในทะเล. บทว่า มณี (แก้วมณี) ความว่า เว้นแก้วไพฑูรย์เป็นต้น
ที่มาในพระบาลีแล้ว ที่เหลือแม้ทั้งหมด ชื่อว่า แก้วมณี อันต่างด้วยแก้วมณี
โชตรสเป็นต้น . บทว่า เวฬุริโย (แก้วไพฑูรย์) ได้แก่แก้วมณีมีสีเหมือน
สีผิวไม้ไผ่. บทว่า สํโข (สังข์) ได้แก่ หอยสังข์เกิดในทะเล. บทว่า สิลา
(ศิลา) ได้แก่ ศิลาแม้ทั้งหมดอันต่างด้วยศิลาดำ ศิลาเหลือง ศิลาขาวเป็นต้น.
บทว่า ปวาฬํ คือแก้วประพาฬนั่นเอง. บทว่า รชตํ (เงินตรา) ได้แก่
กหาปณะ. บทว่า ชาตรูปํ ได้แก่ ทอง. บทว่า โลหิตงฺโค ได้แก่
มณีแดง. บทว่า มสารคลฺลํ (แก้วลาย) ได้แก่ เพชรตาแมว.
พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุมีหญ้าเป็นต้น พฤกษชาติที่มีข้างนอกแข็ง
โดยที่สุดมีต้นมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่า หญ้า. วัตถุที่แก่นข้างในโดยที่สุดแม้
ท่อนฟืน ชื่อว่า ท่อนไม้. ก้อนหินโดยประมาณเม็ดถั่วเขียวจนถึงกำปั้น
ชื่อว่า กรวด แต่กรวดที่เล็กกว่าเม็ดถั่ว เขียวลงมา เรียกว่า ทราย. คำว่า
กระเบื้อง ได้แก่กระเบื้องอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า ภูมิ ได้แก่ แผ่นดิน.
คำว่า ปาสาโณ (แผ่นหิน) ได้แก่ แผ่นหินมีขนาดตั้งแต่กำไม่มิดขึ้นไป
แต่ไม่ถึงประมาณเท่าช้าง ชื่อว่า แผ่นหิน แต่ถ้ามีขนาดช้างขึ้นไป ชื่อว่า
บรรพต.
ด้วยบทว่า ยํ วา ปน (หรือว่าธาตุอันใด) นี้ ท่านรวมเอาปถวี
ที่เหลืออันต่างด้วยวัตถุมีเมล็ดตาลและผลมะพร้าวเป็นต้น. ด้วยคำว่า ยา จ
อชฺฌตฺติกา ปถวีธาตุ ยา จ พาหิรา
(ปฐวีธาตุภายในและปฐวีธาตุ

ภายนอกอันใด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดปฐวีธาตุแม้ทั้ง 2 โดย
ลักษณะว่าเป็นปฐวีธาตุอันเดียวเท่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติแข็ง ดังนี้.

นิเทศอาโปธาตุภายใน


ในนิเทศอาโปธาตุเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหันหลังนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อาโป อาโปคตํ (ควานเอิบอาบ ธรรมชาติที่
เอิบอาบ) ดังนี้เป็นต้น ที่ชื่อว่า อาโป (ความเอิบอาบ) ด้วยอำนาจความ
เกาะกุม คำว่า อาโป นั้นนั่นแหละ ทีชื่อว่า อาโปคตํ (ธรรมชาติที่เอิบอาบ)
เพราะตามที่อาโปธาตุน้ำนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นสภาพแห่งอาโป. ที่ชื่อว่า
สิเนโห (ความเหนียว) ด้วยอำนาจแห่งสิเนหา ความสิเนหานั้นนั่นแหละ.
ชื่อว่า สิเนหคตํ (ธรรมชาติที่เหนียว) เพราะถึงสภาพแห่งความเหนียว.
บทว่า พนฺนตฺตํ รูปสฺส (ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป) ได้แก่
เครื่องผูกของอวินิโภครูป (รูปที่แยกออกไม่ได้ 8 รูป). แม้คำว่า ปีตฺตํ
(น้ำดี) เสมฺหํ (เสลด) เป็นต้น พระโยคีพึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งความ
เป็นธาตุนั้นแหละ โดยกำหนดถือเอาด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส
และปริจเฉท.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ปิตฺตํ (น้ำดี)


ในอธิการแห่งอาโปธาตุนั้น มีนัยดังต่อไปนี้
ก็บรรดาน้ำดีทั้งหลาย น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง (อพทฺธปิตฺตํ) ตั้งอยู่
ซึมซาบสรีระทั้งสิ้นอันเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ น้ำดีที่อยู่ในถุง (พทฺธปิตฺตํ)
ตั้งอยู่ในถุงของน้ำดี. บรรดาน้ำดีทั้ง 2 เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า