เมนู

คำว่า ปถวีธาตุ ( ธาตุดิน) ได้แก่ ธาตุตั้งมั่น.
คำว่า อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ได้แก่ ธาตุเกาะกุม.
คำว่า เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ได้แก่ ธาตุแผดเผา.
คำว่า วาโยธาตุ (ธาตุลม) ได้แก่ ธาตุเคลื่อนไหว.
คำว่า อากาสธาตุ (ธาตุคือช่องว่าง) ได้แก่ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้.
คำว่า วิญฺญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ) ได้แก่ ธาตุรู้แจ้ง.

นิเทศปฐวีธาตุ


บทว่า ปถวีธาตุทฺวยํ (ปฐวีธาตุ 2 อย่าง) ได้แก่ ปฐวีธาตุนี้มี
2 อย่าง อธิบายว่า ชื่อว่า ปฐวีธาตุนี้มิได้มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่มี 2 อย่าง
โดยแยกเป็นปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอก ด้วยเหตุนั้นแหละ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตฺถิ อชฺฌตฺติกา อตฺถิ พาหิรา (ปฐวีธาตุ-
ภายในมีอยู่ ปฐวีธาตุภายนอกมีอยู่).
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อชฺณตฺติกา (ภายใน) ได้แก่ที่นับเนื่อง
ในสันดานของสัตว์ คือ ที่อยู่ภายในซึ่งเกิดในตน. คำว่า พาหิรา (ภายนอก)
ได้แก่ ที่นับเนื่องในสันดาน (การสืบต่อ) ของสังขาร คือ ที่ไม่เกี่ยวด้วย
อินทรีย์. คำว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายในเฉพาะตน) นี้แม้ทั้ง 2 ก็
เป็นชื่อของธาตุที่อยู่ภายในซึ่งเกิดในตนนั้นเอง.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฐวีธาตุนั้นโดยอาการ (ลักษณะ) แห่งภาวะ-
ของตนจึงตรัสคำว่า กกฺขฬํ (แข็ง) เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า
กกฺขฬํ (แข็ง) ได้แก่ ธรรมชาติที่แข็ง. คำว่า ขริคตํ (กระด้าง) ได้แก่

ธรรมชาติที่หยาบ. คำว่า กกฺขฬติตํ (ความแข็ง) ได้แก่ ภาวะที่แข็ง.
คำว่า กกฺขฬภาโว (ภาวะที่แข็ง) ได้แก่ สภาวะที่แข็ง.
คำว่า อชฺฌตฺตํ อุปาทินฺนํ (อุปาทินนรูปที่เป็นภายใน) ได้แก่
อุปาทินนรูป กล่าวคือ รูปภายในเกิดในตน รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ ชื่อว่า
อุปาทินนะ จริงอยู่ รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระจะมีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม หรือไม่มี
กรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม ทรงหมายเอารูปที่ตั้งอยู่ในสรีระอันเป็นอุปาทินนะ
บ้าง เป็นอนุปาทินนะบ้างนั้น. แต่เพื่อทรงแสดงว่า รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นอุปาทินนรูป ด้วยอำนาจแห่งรูปที่มีใจครองซึ่งถูก
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือไว้แล้วนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺตํ อุปาทินฺนํ
เป็นต้น.

นิเทศปฐวีธาตุภายใน


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงปฐวีธาตุนั้นนั่นแหละ
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ จึงตรัสคำว่า เสยฺยถีทํ เกสา โลมา ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น คำว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต. คำว่า เสยฺยถีทํ
นั้น มีอธิบายว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน ? หรือว่ารูปที่อยู่ภายในเป็น
ของเฉพาะตน ชื่อว่า เป็นธรรมชาติแข็งนั้น เป็นไฉน ?
คำว่า เกสา โลมา เป็นต้น เป็นคำแสดงประเภทแห่งปฐวีธาตุที่
เป็นภายในนั้นด้วยอำนาจที่เป็นวัตถุ มีคำอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เกสา
(ผมทั้งหลาย) อยู่ภายในเป็นอุปาทินนรูป เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ มีความแข็ง
เป็นลักษณะ เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้. ชื่อว่า โลมา
(ขนทั้งหลาย) ฯลฯ ชื่อว่า กรีสะ (อาหารเก่า). มัตถลุงคัง (มันสมอง)