เมนู

1. ขันธวิภังคนิเทศ


วรรณาสุตตันตภาชนีย์


คำว่า ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ดังนี้ นี้ ชื่อสุตตันตภาชนีย์1 ในขันธวิภังค์
อันเป็นวิภังค์ต้นแห่งวิภังค์ปกรณ์. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า 5 เป็นคำ
กำหนดจำนวน ด้วยคำว่า 5 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ขันธ์
ทั้งหลายมีไม่น้อยกว่านั้นไม่มากกว่านั้น. คำว่า ขันธ์ เป็นคำแสดงธรรมที่ทรง
กำหนดไว้.

ว่าด้วยขันธ์ศัพท์


ในพระบาลีขันธวิภังค์นั้น ศัพท์ว่า ขันธ์ (ขนฺธสทฺโท) นี้ใช้ใน
ฐานะมาก คือ ในฐานะว่า กอง (ราสิมฺหิ) ในฐานะว่า คุณ (คุเณ)
ในฐานะโดยเป็นบัญญัติ (ปณฺณตฺติยํ) ในความเป็นคำติดปาก (รุฬฺหิยํ).
จริงอยู่ ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่า กอง เหมือนในประโยคมีคำ
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหา-
สมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหก หรือว่าเท่านี้ร้อยอาฬหก หรือว่าเท่านี้
พันอาฬหก หรือว่าเท่านี้แสนอาฬหก ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้
ย่อมถึงการนับว่า เป็นมหาอุทกขันธ์ ( กองน้ำใหญ่ ) อันใคร ๆ พึงนับ
ไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ทีเดียว แม้ฉันใด
ดังนี้2 เพราะมิใช่น้ำ
1. คำว่า สุตตันตภาชนีย์ คือ คำที่จำแนกโดยนัยที่ทรงแสดงในพระสูตร
2. อง จตุกฺก เล่ม 21 51/72 คำว่า อาฬหก เป็นชื่อกำหนดนับโดยการตวงของ เช่น
4 กำมือเป็น 1 ฟายมือ 2 ฟายมือเป็น 1 กอบ 2 กอบเป็น 1 ทะนาน 4 ทะนานเป็น
1 อาฬหก

นิดหน่อย คือเป็นน้ำจำนวนมากทีเดียว เขาจึงเรียกว่า อุทกขันธ์ (กองน้ำ)
อนึ่ง ธุลีมิใช่มีประมาณเล็กน้อย เขาก็เรียกว่า รชักขันธ์ (กองธุลี) โคมี
ประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า ควักขันธ์ (กองโค) พลมีประมาณไม่น้อย
เขาก็เรียกว่า พลขันธ์ (กองพล) บุญมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า บุญขันธ์
(กองบุญ) เพราะธุลีมีมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า รชักขันธ์ โคเป็นต้นมีประมาณ
มากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า ควักขันธ์ พลมีประมาณมาก และบุญมีประมาณ
มาก ท่านก็เรียกว่า พลขันธ์ และบุญขันธ์ ดังนี้.
อนึ่ง ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่าคุณ เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า
สีลกฺขนฺโธ (คุณคือศีล) สมาธิขนฺโธ (คุณคือสมาธิ) ดังนี้. และชื่อว่า
ขันธ์โดยฐานะเป็นบัญญัติ เหมือนในชื่อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอด
พระเนตรเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ (มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ) ลอยตาม
กระแสแม่น้ำคงคาไป* ดังนี้. ชื่อว่า ขันธ์ ในฐานะโดยความเป็น คำติดปาก
เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า จิต มโน มานัส วิญญาณ วิญญาณ-
ขันธ์
อันใด2 ดังนี้.
ขันธ์นี้นั้น ทรงประสงค์เอาโดยฐานะว่า กอง ในอธิการนี้ เพราะ
ชื่อว่า อรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถว่าเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นแท่ง เป็นกอง
ฉะนั้น พึงทราบว่าขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นกอง ดังนี้ แม้จะกล่าวว่า อรรถ
แห่งขันธ์นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (คือเป็นส่วน) ดังนี้ ก็ควร เพราะคนทั้งหลาย
ในโลกกู้หนี้เขามาแล้ว เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ก็พูดว่า พวกเราจักให้ 2 ขันธ์
(2 ส่วน) 3 ขันธ์ (3 ส่วน) ดังนี้ แม้การกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะ
เป็นโกฏฐาส คือเป็นส่วน ดังนี้ก็ควร ด้วยประการฉะนี้ คำว่า รูปขันธ์
1. สํ. สฬายตนวคฺค เล่ม 18 325/226
2. อภิ. วิ เล่ม 35 294/193

ในสุตตันภาชนีย์นี้จึงได้แก่ กองแห่งรูป ส่วนแห่งรูป. คำว่า เวทนาขันธ์
ก็ได้แก่ กองแห่งเวทนา ส่วนแห่งเวทนา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ
อรรถแห่งขันธ์มีสัญญาเป็นต้นโดยนัยนี้.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประมวลรูปทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งรูป
มีประเภทอย่างนี้ คือ ส่วนแห่งรูป 251 และส่วนแห่งรูป 962 ซึ่งทรงจำแนก
ไว้ในโอกาส 11 อย่าง มีรูปที่เกิดแต่อดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น โดย
พระดำรัสที่ตรัสว่า มหาภูตรูป 4 และรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 ดังนี้
แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
อนึ่ง ทรงประมวลเวทนานั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งเวทนาอันเป็น
ไปในภูมิ 4 ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส 11 เหล่านั้นนั่นแหละว่า สุขเวทนา
ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า เวทนาขันธ์.
และทรงประมวลสัญญานั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งสัญญาอันเป็นไปในภูมิ 4
ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส 11 เหล่านั้นนั่นแหละว่า สัญญาเกิดแต่จักขุ-
สัมผัส ฯลฯ สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส
ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า
สัญญาขันธ์. และทรงประมวลสังขารนั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งเจตนา
อันเป็นไปในภูมิ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส 11 เหล่านั้นนั่นแหละว่า เจตนา
เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า
ชื่อว่า สังขารขันธ์. และทรงประมวลวิญญาณนั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่ง
จิตอันเป็นไปในภูมิ 4 ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส 11 เหล่านั้นนั่นแหละว่า
1. รูป 25 คือ อายตนะภายในและภายนอก 10 แสะสุขุมรูป 15
2. รูป 96 คือ กรรมชรูป ได้แก่ จักขุทสกะ โสต ฆาน ชิว กายทสก อิตถีภาวทสก
ปุริสภาวทสก รวม 70 และสุทธัฏฐกรูป 8 เกิดแต่ จิติ อุตุ อาหารรวม 24 สัททรูป 2
เกิดแต่จิตและอุต.

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญาณธาตุ
ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า วิญญาณขันธ์.
อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการแห่งขันธ์ 5 นี้ รูปแม้ทั้งหมดที่เกิดจาก
สมุฏฐานทั้ง 4 (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร) ชื่อว่า รูปขันธ์ เวทนา
ที่เกิดพร้อมกับจิต 89 มีกามาวจรกุศลจิต 8 เป็นต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์
แม้สัญญาก็ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็ชื่อว่า สังขารขันธ์
จิต 89 ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ 5 แม้
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายรูปขันธ์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงจำแนกแสดงรูปขันธ์
เป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตถฺ กตโม รูปกฺขนฺโธ ในขันธ์
5 นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในขันธวิภังค์นั้น ดังนี้
บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในขันธ์ 5 เหล่านั้น บทว่า กตโม เป็น
กเถตุกัมยตาปุจฉา. บทว่า รูปกฺขนฺโธ (รูปขันธ์) เป็นบทแสดงธรรมที่
ทรงปุจฉา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกรูปขันธ์นั้นในบัดนี้ จึงตรัส
พระดำรัสมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ยํ กิญฺจิ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นบทที่ทรงถือเอาโดยไม่เหลือ. บทว่า
รูปํ (รูป) เป็นบทกำหนดธรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยบทว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ แม้
ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นอันทรงทำการกำหนดเอารูปโดยไม่มีส่วนเหลือ.
ถามว่า ในรูปขันธ์นั้น ธรรมที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่ากระไร
ตอบว่า ที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่า ย่อยยับ.