เมนู

[123] ฉักกะ หมวดแห่งธาตุ 6 ทั้ง 3 นัยนี้ ประมวลเข้าเป็น
หมวดเดียวกัน เป็นธาตุ 18 ด้วยประการฉะนี้แล.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

ธาตุวิภังคนิเทศ


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อธาตุทั้งหมดไว้ด้วยธาตุหมวด-
ละ 6 แสดงสุตตันตภาชนีย์ ด้วยหมวดธาตุ 6 รวม 3 หมวด ในธาตุวิภังค์
ซึ่งเป็นลำดับต่อจากอายตนวิภังค์นั้น จึงตรัส คำมีอาทิว่า ฉ ธาตุโย
(ธาตุ 6) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉ (6) เป็นคำกำหนดจำนวน.
บทว่า ธาตุโย เป็นคำแสดงธรรมที่ทรงกำหนดไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีคำว่า ปถวีธาตุ เป็นต้น ต่อไป.
ชื่อว่า อรรถว่าธาตุ มีความหมายว่า เป็นสภาวะ ชื่อว่า อรรถ
ว่าสภาวะ
มีความหมายว่าเป็นของสูญ ชื่อว่า อรรถว่าเป็นของสูญ มี
ความหมายว่า มิใช่สัตว์ เพราะฉะนั้น โดยอรรถที่อธิบายมานี้ ธาตุ คือ
ปถวี (ดิน) นั้นแหละ ชื่อว่า ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) ด้วยอรรถว่ามีสภาพ
สูญและไม่ใช่สัตว์ แม้ธาตุมีอาโปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิตทราบ
บทสมาสในคำว่า ปฐวีธาตุ เหล่านี้ อย่างนี้แล้วพึงทราบอรรถ (ความหมาย)
ต่อไป.