เมนู

3. ธาตุวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


ธาตุ 6 นัยที่ 1


[114] ธาตุ 6 คือ
1. ปฐวีธาตุ
2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ
4. วาโยธาตุ
5. อากาสธาตุ
6. วิญญาณธาตุ

[115] ในธาตุ 6 นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุมี 2 อย่าง คือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก.
ในปฐวีธาตุ 2 อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายใน เป็นไฉน ?
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น
ภายในเฉพาะคน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติ
ที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะทีแข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป
ข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน.
ปฐวีธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติกระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข้ง เป็น
ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ
เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตรา
ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน
แผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง
ภาวะที่แข่ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้
เรียกว่า ปฐวีธาตุภายนอก.
ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง 2 อย่างนั้นเขาเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ.
[116] อาโปธาตุ เป็นไฉน.
อาโปธาตุมี 2 อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก.
ในอาโปธาตุ 2 อย่างนั้น อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ?
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป ข้างใน
ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน นำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว
ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปา-
ทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน.
อาโปธาตุภายนอก เป็นไฉน ?
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติที่เกาะในรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ รส

รากไม้ ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม
เนยใส เนยข้น น้ามัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่บนพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ใน
อากาศหรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ควานเหนียว ธรรมชาติที่
เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก
แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายนอก.
อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ประมวลทั้ง 2 อย่างนั้น เข้า
เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ.
[117] เตโชธาตุ เป็นไฉน ?
เตโชธาตุ มี 2 อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก.
ในเตโชธาตุ 2 อย่างนั้น เตโชธาตุ เป็นไฉน ?
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น
ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่
เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุ
ที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึง
ความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติ
ที่อุ่น ความอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินน
รูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ เรียกว่า เตโชธาตุภายใน.
เตโชธาตุภายนอก เป็นไฉน ?
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น
ธรรมชาติ ที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน
ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความ
ร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อน

แห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ
ความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า
เตโชธาตุภายนอก.
เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง 2 อย่างนั้น เข้า
เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ.
[118] วาโยธาตุ เป็นไฉน ?
วาโยธาตุมี 2 อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก.
ในวาโยธาตุ 2 อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน.
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน
เฉพะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา
ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่น
ใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน.
วาโยธาตุภายนอก เป็นไฉน ?
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็น
ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก
ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน
ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธ ลมใบตาล ลม
ใบพัด หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป
เป็นภายนอก เป็นอุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุ
ภายนอก.

วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง 2 อย่างนั้น เข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ.
[119] อากาสธาตุ เป็นไฉน ?
อากาศธาตุมี 2 อย่าง คือ อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก.
ในอากาสธาตุ 2 อย่างนั้น อากาสธาตุภายใน เป็นไฉน ?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับ
ว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่
ถูกต้องเบาภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่อง
จมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่
แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับชองกินของดื่มของเคี้ยว
ของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความ
ว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่อง
ว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินกรูป
ข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน.
อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน ?
อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอัน
นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป 4
ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ณ เรียกว่า อากาสธาตุ
ภายนอก.
อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง 2 อย่างนั้น เข้า
เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ.

[120] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ-
ธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ.
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6.

ธาตุ 6 นัยที่ 2


[121] ธาตุ 6 อีกนัยหนึ่ง คือ
1. สุขธาตุ
2. ทุกขธาตุ
3. โสมนัสสธาตุ
4. โทมนัสสธาตุ
5. อุเปกขาธาตุ
6. อวิชชาธาตุ.

ในธาตุ 6 นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน ?
ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด
แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า
สุขธาตุ.
ทุกขธาตุ เป็นไฉน ?
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น
ทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขธาตุ.