เมนู

เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี อายตนะ 10 เป็นนอุเปกขาสหคตะ
อายตนะ 2 เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ 10
เป็นกามาวจระ อายตนะ 2 เป็นกามาวจระก็มี เป็นนกามาวจระก็มี อายตนะ
10 เป็นนรูปาวจระ อายตนะ 2 เป็นรูปาวจระก็มี เป็นนรูปาวจระก็มี
อายตนะ 10 เป็นนอรูปาวจระ อายตนะ 2 เป็นอรูปาวจระก็มี เป็นอรูปา-
วจระก็มี อายตนะ 10 เป็นปริปันนะ อายตนะ 2 เป็นปริยาปันนะก็มี
เป็นอปริยาปันนะก็มี อายตนะ 10 เป็นอนิยยานิกะ อายตนะ 2 เป็นนิยยา-
นิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี อายตนะ 10 เป็นอนิยตะ อายตนะ 2 เป็น
นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ 10 เป็นสอุตตระ อายตนะ 2 เป็น
สอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี อายตนะ 10 เป็นอรณะ อายตนะ 2 เป็น
สรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาทางปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ แม้ในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะใดที่ได้ อายตนะใด
ที่ไม่ได้ พระองค์ตรัสถามอายตนะนั้นทั้งหมดแล้วทรงวิสัชนาด้วยสามารถแห่ง
อายตนะที่ได้เท่านั้น มิใช่แต่ในที่นี้อย่างเดียว ในปัญหาปุจฉกะแม้ทั้งหมด
ก็นัยนี้แหละ.

ก็ในอายตนะทั้งหมดในที่นี้ พึงทราบความที่อายตนะ 10 เป็นอัพยา-
กตะโดยความเป็นรูป พึงทราบความที่อายตนะ 2 เป็นกุศลเป็นต้น เหมือนขันธ์
4 ในขันธวิภังค์ เพราะขันธ์ 4 เป็นธรรมมีปัจจัยด้วยเป็นสังขตะด้วยทั้งหมด
ทีเดียว แต่ธรรมายตนะมาแล้วว่า พึงเป็น อปัจจัยก็มี พึงเป็น อสังขตะ
ก็มี ดังนี้.
อนึ่ง ในอารัมมณติกะ ธรรมายตนะเป็นอนารัมมณะ คือ เป็นสุขุม
รูป ย่อมเข้ากันกับส่วนแห่งอารมณ์ที่เป็น นวัตติตัพพารัมมณะ (อารมณ์ที่ไม่
พึงกล่าว) ก็ความแปลกกันในอายตนวิภังค์นี้ ดังนี้ คือ ธรรมายตนะนั้นแล
เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และธรรมารมณ์ที่เป็นนวัตติตัพพารัมมณะ (คือเป็น
อารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) โดยไม่เป็นปริตตารมณ์เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียว
กันทีเดียว.
อายตนะ 2 แม้ในที่นี้ก็เหมือนขันธ์ 4 คือคำทั้งหมดว่า เมื่อบุคคลผู้
มีจิตยินดี ผู้มีจิตประทุษร้าย ผู้มีจิตลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น
มีอยู่ ปริตตารมณะก็ปรารภกามาวจรธรรม 55 เป็นไป ดังนี้ เป็นเช่นดังคำ
ที่กล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.
อายตนวิภังคนิเทศ ที่ 2 จบ

3. ธาตุวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


ธาตุ 6 นัยที่ 1


[114] ธาตุ 6 คือ
1. ปฐวีธาตุ
2. อาโปธาตุ
3. เตโชธาตุ
4. วาโยธาตุ
5. อากาสธาตุ
6. วิญญาณธาตุ

[115] ในธาตุ 6 นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุมี 2 อย่าง คือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก.
ในปฐวีธาตุ 2 อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายใน เป็นไฉน ?
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น
ภายในเฉพาะคน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติ
ที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะทีแข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป
ข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน.
ปฐวีธาตุภายนอก เป็นไฉน ?