เมนู

สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุถูกรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
กระทบ ดังนี้ บัณฑิตควรให้พิสดาร อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นอายตนะภายใน
เหมือนสัตว์ 6* ชนิด พึงเห็นอายตนะภายนอกเหมือนที่เที่ยวหากินของสัตว์
เหล่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนี้โดยเป็นธรรมพึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงแสดงอาการแห่งอาย-
ตนะเหล่านั้นอันบัณฑิตพึงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จึงเริ่มคำมีอาทิว่า จกฺขุํ
อนิจฺจํ
(จักขุไม่เที่ยง) ดังนี้.
บรรดาอายตนะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยง
ด้วยอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ ดังนี้ก่อน. ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ 4
อย่าง แม้อื่นอีก คือ โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด 1 โดย
ความแปรปรวนไป 1 โดยความเป็นของชั่วคราว 1 โดยปฏิเสธความเที่ยง 1.
จักขุนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น อีกอย่างหนึ่ง
จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ (ฐิติ) เมื่อตั้งอยู่ ย่อมลำบากด้วยชรา
ถึงชราแล้ว ย่อมแตกดับไปแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะ
เหตุ เหล่านี้ คือ โดยความเป็นของบีบคั้นเนือง ๆ 1 โดยความเป็นของ
ทนได้ยาก 1 โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์ 1 โดยปฏิเสธความสุข 1.
อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.
อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ 3 เหล่านี้
* สัตว์ 6 ชนิด คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง