เมนู

จักขุวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป ฯลฯ มโนวิญญาณ
ย่อมเกิดเพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย
ดังนี้.
พึงวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้โดยลำดับ อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยย่อและพิสดาร


ข้อว่า โดยย่อและโดยพิสดาร ความว่า ก็เมื่อว่าโดยย่อ เพราะ
ความที่มนายตนะและธรรมายตนะส่วนหนึ่ง พระองค์ทรงสงเคราะห์เข้าเป็น
นาม อายตะที่เหลือจากนั้น ทรงสงเคราะห์เข้าเป็นรูป อายตนะแม้ทั้ง 12 จึง
เป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร บรรดาอายตนะทั้งหลาย
ที่เป็นภายใน จักขายตนะสักว่าเป็นเพียงเฉพาะจักขุปสาทด้วยสามารถแห่ง
การเกิดก่อน แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่งปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล เป็น
อนันตประเภท (มีประเภทหาขอบเขตมิได้) อายตนะ 4 มีโสตายตนะเป็น
ต้นก็เป็นอนันตประเภทเหมือนกัน. มนายตนะมี 81 ประเภท โดยประเภทแห่ง
กุศล อกุศล วิบาก กิริยาวิญญาณ ที่เป็นไปในภูมิ 3 แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่ง
วัตถุและปฏิปทาเป็นต้นก็เป็นอนันตประเภท. รสายตนะที่เป็นรูปขันธ์ ว่าโดย
ประเภทแห่งสมุฏฐาน มี 4 ประเภท สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ว่าโดย
สมุฏฐาน มี 2 ประเภท แต่เมื่อว่าโดยประเภทสภาคะและวิสภาคะแล้ว อายตนะ
แม้ทั้งหมดเป็นอนันตประเภท. โผฏฐัพพายตนะมี 3 ประเภท ด้วยอำนาจแห่ง
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แต่เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน มี 4 ประเภท
เมื่อว่าโดยสภาคะและวิสภาคะเป็นอนันตประเภท. ธรรมายตนะเป็นอนันต-
ประเภท ด้วยอำนาจแห่งธรรมารมณ์เป็นไปในภูมิ 3 ฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยอายตนะโดยย่อและพิสดารอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมพึงเห็น


ก็ในข้อว่า โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น นี้ ความว่า อายตนะ
ทั้งหมดเหล่านั้นแหละ พึงเห็นโดยการยังไม่มาถึง (อนาคมนโต) และโดยการ
ไม่ออกไป (อนิคฺคมนโต).
จริงอยู่ อายตนะเหล่านั้นเมื่อก่อนแต่ผุดขึ้นย่อมมาจากที่ไหน ๆ ก็หาไม่
แม้หลังจากความสลายแล้วจะไปสู่ที่ไหน ๆ ก็หาไม่ โดยที่แท้ เมื่อก่อนแต่
ผุดขึ้น อายตนะเหล่านั้นยังไม่ได้ภาวะของตนโดยเฉพาะ หลังจากสลายไปก็มี
ภาวะของตนแตกหมดแล้ว เหตุที่มันเป็นไปได้ในเบื้องต้นเบื้องปลายและท่าม-
กลางก็เพราะปัจจัย เพราะฉะนั้น พึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยการยังไม่มาถึง
แต่โดยการไม่ออกไป.
อนึ่ง พึงเห็นอายตนะเหล่านี้ โดยความไม่เคลื่อนไป (นิรีหโต)
และไม่มีความพยายาม (อพฺยาปารโต) จริงอยู่ อายตนะทั้งหลายมีจักขุ
และรูปเป็นต้นจะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชื่อว่า วิญญาณพึงเกิดขึ้น
เพราะพวกเราพบกัน ดังนี้ก็หาไม่ และอายตนะเหล่านั้นจะขวนขวายเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณโดยความเป็นทวาร โดยความเป็นวัตถุ หรือโดยความเป็น
อารมณ์ก็หาไม่ คือไม่ต้องขวนขวายพยาม โดยที่แท้ มันเป็นเรื่องธรรมดาเท่านั้น
ที่จักขุวิญญาณเป็นต้น จะเกิดขึ้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุและรูปเป็นต้น
พบกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยความไม่เคลื่อนไป
และโดยความไม่มีความพยายาม.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงเห็นอายตนะภายในเหมือนเรือนว่าง เพราะ
เว้นจากความยั่งยืน จากความงาม จากสุข และจากอัตภาพ พึงเห็นอายตนะ
ภายนอกเหมือนพวกโจรปล้นชาวบ้าน เพราะกระทบอายตนะภายใน. ข้อนี้