เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ข้อว่า โดยลำดับ ความว่า ในบรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่งการ
เกิดขึ้นเป็นต้นตามที่กล่าวไว้แล้วในก่อน* ลำดับแห่งเทศนาเท่านั้นย่อมควรใน
อายตนวิภังค์แม้นี้. เพราะว่า บรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน จักขายตนะ
ชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะความมีรูปที่เห็นได้และกระทบได้เป็นอารมณ์ เพราะ
เหตุนั้น จึงทรงแสดงจักขายตนะก่อน ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงโสตายตนะเป็นต้น
ซึ่งมีรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบได้เป็นอารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน พระองค์ทรง
แสดงจักขายตนะและโสตายตนะก่อน เพราะความที่อานตนะทั้งสองนั้นเป็น
ธรรมมีอุปการะมากโดยเป็นเหตุให้เกิดทัศนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
และสวนานุตริยะ (การได้ฟังอันยอดเยี่ยม) ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงอายตนะ 3 มี
ฆานายตนะเป็นต้น ในที่สุด ทรงแสดงมนายตนะไว้ เพราะความที่ธรรมแม้
ทั้ง 5 ก็เป็นอารมณ์เป็นที่เที่ยวไป (ของมนายตนะนั้ย).
อนึ่ง ในอายตนะทั้งหลายอันเป็นภายนอก พระองค์ทรงแสดงอายตนะ
มีรูปเป็นต้นในลำดับของอายตนะภายในนั้น ๆ เพราะความเป็นอารมณ์ของ
จักขายตนะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งอายตนะเหล่านั้นอย่างนี้
แหละแม้โดยกำหนดเหตุเกิดขึ้นของวิญญาณ ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสว่า
* ท่านกล่าวลำดับไว้ 5 คือ
1. อุปฺปติจิกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด
2. ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ
3. ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ
4. ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ
5. เทศนากฺกโม ลำดับแห่งการเทศนา.

จักขุวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป ฯลฯ มโนวิญญาณ
ย่อมเกิดเพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย
ดังนี้.
พึงวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้โดยลำดับ อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยย่อและพิสดาร


ข้อว่า โดยย่อและโดยพิสดาร ความว่า ก็เมื่อว่าโดยย่อ เพราะ
ความที่มนายตนะและธรรมายตนะส่วนหนึ่ง พระองค์ทรงสงเคราะห์เข้าเป็น
นาม อายตะที่เหลือจากนั้น ทรงสงเคราะห์เข้าเป็นรูป อายตนะแม้ทั้ง 12 จึง
เป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร บรรดาอายตนะทั้งหลาย
ที่เป็นภายใน จักขายตนะสักว่าเป็นเพียงเฉพาะจักขุปสาทด้วยสามารถแห่ง
การเกิดก่อน แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่งปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล เป็น
อนันตประเภท (มีประเภทหาขอบเขตมิได้) อายตนะ 4 มีโสตายตนะเป็น
ต้นก็เป็นอนันตประเภทเหมือนกัน. มนายตนะมี 81 ประเภท โดยประเภทแห่ง
กุศล อกุศล วิบาก กิริยาวิญญาณ ที่เป็นไปในภูมิ 3 แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่ง
วัตถุและปฏิปทาเป็นต้นก็เป็นอนันตประเภท. รสายตนะที่เป็นรูปขันธ์ ว่าโดย
ประเภทแห่งสมุฏฐาน มี 4 ประเภท สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ว่าโดย
สมุฏฐาน มี 2 ประเภท แต่เมื่อว่าโดยประเภทสภาคะและวิสภาคะแล้ว อายตนะ
แม้ทั้งหมดเป็นอนันตประเภท. โผฏฐัพพายตนะมี 3 ประเภท ด้วยอำนาจแห่ง
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แต่เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน มี 4 ประเภท
เมื่อว่าโดยสภาคะและวิสภาคะเป็นอนันตประเภท. ธรรมายตนะเป็นอนันต-
ประเภท ด้วยอำนาจแห่งธรรมารมณ์เป็นไปในภูมิ 3 ฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยอายตนะโดยย่อและพิสดารอย่างนี้.