เมนู

เป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งรูปกัณฑ์ในหนหลัง
นั่นแหละ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความมีเพียงเท่านั้น


ข้อว่า โดยความมีเพียงเท่านั้น ได้แก่ โดยความมีจำนวนเพียง
เท่านั้น คำนี้ มีอธิบายว่า หากมีผู้สงสัยว่า ก็อายตนะแม้มีจักขุเป็นต้น ก็เป็น
ธรรมนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์มิได้ตรัสว่า ธรรมอายตนะ เท่านั้น
แต่ตรัสอายตนะ 12 อย่าง ดังนี้ เพราะเหตุไร ?
ข้อนี้ ควรแก่ความสงสัยว่า ที่ตรัสไว้ 12 อย่าง เพราะทรงกำหนด
ทวารและอารมณ์ อันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งวิญญาณกาย 6*
จริงอยู่ ในอายตนวิภังค์ มีประเภทอายตนะเหล่านั้น โดยกำหนด
ความเป็นทวารและความเป็นอารมณ์ของวิญญาณกาย 6 มีเพียงนี้เท่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายตนะมี 12 ด้วยว่า จักขายตนะนั่นแหละเป็น
ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายซึ่งนับเนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณ และรูปายตนะ
นั่นแหละก็เป็นอารมณ์ อนึ่ง อายตนะนอกนี้เป็นทวารเกิดขึ้นแก่วิญญาณกาย
นอกนี้ แต่อายตนะที่เป็นเอกเทศแห่งมนายตนะกล่าวคือ ภวังคจิตนั้นเองเป็น
ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายที่ 6 และธรรมมายตนะที่ไม่ทั่วไปเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอายตนะไว้ 12 เพราะกำหนดทวารเกิดขึ้นและอารมณ์ของ
วิญญาณกาย 6 ไว้ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนั้นโดยความมีเพียงเท่านั้น อย่างนี้.
* วิญญาณกาย คือ กองแห่งวิญญาณมี 6 อย่าง

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ


ข้อว่า โดยลำดับ ความว่า ในบรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่งการ
เกิดขึ้นเป็นต้นตามที่กล่าวไว้แล้วในก่อน* ลำดับแห่งเทศนาเท่านั้นย่อมควรใน
อายตนวิภังค์แม้นี้. เพราะว่า บรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน จักขายตนะ
ชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะความมีรูปที่เห็นได้และกระทบได้เป็นอารมณ์ เพราะ
เหตุนั้น จึงทรงแสดงจักขายตนะก่อน ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงโสตายตนะเป็นต้น
ซึ่งมีรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบได้เป็นอารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน พระองค์ทรง
แสดงจักขายตนะและโสตายตนะก่อน เพราะความที่อานตนะทั้งสองนั้นเป็น
ธรรมมีอุปการะมากโดยเป็นเหตุให้เกิดทัศนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
และสวนานุตริยะ (การได้ฟังอันยอดเยี่ยม) ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงอายตนะ 3 มี
ฆานายตนะเป็นต้น ในที่สุด ทรงแสดงมนายตนะไว้ เพราะความที่ธรรมแม้
ทั้ง 5 ก็เป็นอารมณ์เป็นที่เที่ยวไป (ของมนายตนะนั้ย).
อนึ่ง ในอายตนะทั้งหลายอันเป็นภายนอก พระองค์ทรงแสดงอายตนะ
มีรูปเป็นต้นในลำดับของอายตนะภายในนั้น ๆ เพราะความเป็นอารมณ์ของ
จักขายตนะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งอายตนะเหล่านั้นอย่างนี้
แหละแม้โดยกำหนดเหตุเกิดขึ้นของวิญญาณ ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสว่า
* ท่านกล่าวลำดับไว้ 5 คือ
1. อุปฺปติจิกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด
2. ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ
3. ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ
4. ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ
5. เทศนากฺกโม ลำดับแห่งการเทศนา.