เมนู

เป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งรูปกัณฑ์ในหนหลัง
นั่นแหละ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความมีเพียงเท่านั้น


ข้อว่า โดยความมีเพียงเท่านั้น ได้แก่ โดยความมีจำนวนเพียง
เท่านั้น คำนี้ มีอธิบายว่า หากมีผู้สงสัยว่า ก็อายตนะแม้มีจักขุเป็นต้น ก็เป็น
ธรรมนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์มิได้ตรัสว่า ธรรมอายตนะ เท่านั้น
แต่ตรัสอายตนะ 12 อย่าง ดังนี้ เพราะเหตุไร ?
ข้อนี้ ควรแก่ความสงสัยว่า ที่ตรัสไว้ 12 อย่าง เพราะทรงกำหนด
ทวารและอารมณ์ อันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งวิญญาณกาย 6*
จริงอยู่ ในอายตนวิภังค์ มีประเภทอายตนะเหล่านั้น โดยกำหนด
ความเป็นทวารและความเป็นอารมณ์ของวิญญาณกาย 6 มีเพียงนี้เท่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายตนะมี 12 ด้วยว่า จักขายตนะนั่นแหละเป็น
ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายซึ่งนับเนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณ และรูปายตนะ
นั่นแหละก็เป็นอารมณ์ อนึ่ง อายตนะนอกนี้เป็นทวารเกิดขึ้นแก่วิญญาณกาย
นอกนี้ แต่อายตนะที่เป็นเอกเทศแห่งมนายตนะกล่าวคือ ภวังคจิตนั้นเองเป็น
ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายที่ 6 และธรรมมายตนะที่ไม่ทั่วไปเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอายตนะไว้ 12 เพราะกำหนดทวารเกิดขึ้นและอารมณ์ของ
วิญญาณกาย 6 ไว้ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนั้นโดยความมีเพียงเท่านั้น อย่างนี้.
* วิญญาณกาย คือ กองแห่งวิญญาณมี 6 อย่าง