เมนู

เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นนิวาสถาน คือเป็น
ที่อยู่อาศัยของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จิตแลเจตสิกเหล่านั้นเกลื่อนกล่น
ในอายตนะจักขุเป็นต้น เพราะอาศัยจักขุเป็นต้นนั้น และเพราะความที่มีรูป
เป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า
เป็นอากร คือเป็นบ่อเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จักขุเป็นต้น
ชื่อว่า เป็นที่ประชุม (สโมสรณ์) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะเป็น
ที่ประชุมด้วยอำนาจเป็นวัตถุทวารและอารมณ์ในอายตนะนั้น ๆ. อนึ่ง อายตนะ
มีจักขุเป็นต้น เป็นถิ่นเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะความเกิดขึ้นใน
อายตนะนั้นนั่นแหละ โดยความเป็นที่อาศัย (นิสสยปัจจัย) และเป็นอารมณ์
(อารัมมณปัจจัย ) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง อายตนะมีจักขุเป็นต้น
เป็นเหตุ (การณะ) ของจิต และเจตสิกเหล่านั้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุ
เป็นต้นเหล่านั้นไม่มี จิตและเจตสิกก็หามีไม่.
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า อายตนะ ด้วยเหตุแม้เหล่านั้น คือ เพราะ
อรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่
ประชุม เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ด้วยประการ
ฉะนี้ เพราะฉะนั้น ว่าโดยอรรถตามที่กล่าวมา จักขุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย
จึงชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธรรมายตนะ.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะ


ก็ข้อว่า โดยลักษณะ นั้น คือ พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้
โดยลักษณะแห่งอาตนะมีจักขุเป็นต้น ก็แต่ลักษณะนั้นของอายตนะมีจักขุ