เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.
1. จกฺขตีติ จกฺขุ* ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น
อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง
2. รูปยตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ
อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแหงวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.
3. สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.
4. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป
คือ เปล่งออกไป.
5. ฆายตีติ ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.
6. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น
คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.
7. ชีวิตํ อวหานตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า
นำมาซึ่งชีวิต.
8. รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็น
ที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.
* จกฺขุวิญฺญาณธิฏญิตํ หุติวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น
ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกระบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา
มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหํ ปมุขํ ดัง
คาถาประพันธ์ไว้ว่า
จกฺขกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ
เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ
จากธาตุปฺปทีปิกา

9. กุจฺฉิตานํ สาสวธมฺมานํ อาโยติ กาโย ชื่อว่า กาย
เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดของธรรมมีอาสวะอันบัณฑิตเกลียด คำว่า อาโย
คือ ที่เกิด.
10. ผุสฺสียตีติ โผฏฺฐพฺพํ ชื่อว่า โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า
อันกายย่อมถูกต้อง.
11. มนุยตีติ มโน ชื่อว่า มนะ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้.
12. อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่า ธรรม เพราะ
อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.
แต่เมื่อว่าโดยอรรถไม่แปลกกัน พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า อายตนะ
เพราะเป็นเครื่องต่อ (อายตนโต) 1 เพราะการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่ง
อาสวะทั้งหลาย (อายานํ ตนนโต) 1 เพราะนำไปสู่สังสารต่อไป (อายตสฺส
จ นยนโต )
1.
จริงอยู่ ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น มีอธิบาย
ไว้ว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกมีอารมณ์ตามทวารนั้น ๆ ย่อมเจริญขึ้น
ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ ย่อมขยายไปด้วยกิจ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้นของตน ๆ
นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ 1.
ก็เมื่อธรรมอันเป็นอายะ (คือเป็นบ่อเกิดของอาสวะมีอยู่) ธรรมคือจิต
และเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมแผ่ไป คือย่อมยังธรรม อันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะนี้
ให้กว้างขวาง นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ 2.
ก็อายตนะเหล่านั้นย่อมนำไป คือ ย่อมให้เป็นไปถ่ายเดียวสู่สังสารทุกข์
อันยาวนานมาแต่อดีต เป็นไปล่วงไปในสังสารอันมีเงื้อนเบื้องต้นและที่สุดอัน
รู้ไม่ได้ ให้หวนกลับมิได้ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ 3.

เหล่านี้แม้ทั้งหมด จึงตรัสเรียกว่า ชื่อว่า อายตนะ อายตนะ เพราะเป็นเครื่อง
ต่อ เพราะเป็นการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย และเพราะนำไป
สู่สังสารอันยาวนานต่อไป.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า
เป็นที่อยู่ เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม เพราะ
อรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นการณะ.
จริงอย่างนั้น โวหารทางโลก เขาเรียก ที่อยู่อาศัย ว่า อายตนะ
เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิสฺสรายตนํ (ที่อยู่ของพระอิศร) วาสุเทวายตนํ
(ที่อยู่ของพระวาสุเทพ). อากรคือบ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า สุวณฺณายตนํ (บ่อทอง) รตนายตนํ (บ่อรัตนะ). ก็โวหารใน
ศาสนาเรียกที่ประชุม ว่า อายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มโนรเม
อายตเน เสวนฺติ นํ วิหงฺคมา1 (เมื่ออายตนะคือที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงใจ
มีอยู่ พวกนกก็พากันไปอาศัยต้นไม้นั้น ). ถิ่นที่เกิด เรียกว่า อายตนะ
เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทกฺขิณาปโถ คุนฺนํ อายตนํ (ทักขิณาบถ คือ
ทางทิศใต้ของอินเดีย เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย). การณะ เรียกว่า อายตนะ
เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตตฺร ตเตฺรว สกฺขิภพฺพตํ ปาปฺณาติ สติ
สติอายตเน2
(เมื่ออายตนะคือเหตุเป็นเครื่องระลึกมีอยู่ เธอก็จะบรรลุผลใน
จตูปปาตญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน).
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ๆ ย่อมอาศัยอยู่ใน
อายตนะทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น เพราะความเป็นไปเนื่องด้วยจักขุเป็นต้นนั้น
1. อํ. ปญฺจก. เล่ม 22 38/46
2. อํ. กญฺจก. เล่ม 22 23/20

เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นนิวาสถาน คือเป็น
ที่อยู่อาศัยของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จิตแลเจตสิกเหล่านั้นเกลื่อนกล่น
ในอายตนะจักขุเป็นต้น เพราะอาศัยจักขุเป็นต้นนั้น และเพราะความที่มีรูป
เป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า
เป็นอากร คือเป็นบ่อเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จักขุเป็นต้น
ชื่อว่า เป็นที่ประชุม (สโมสรณ์) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะเป็น
ที่ประชุมด้วยอำนาจเป็นวัตถุทวารและอารมณ์ในอายตนะนั้น ๆ. อนึ่ง อายตนะ
มีจักขุเป็นต้น เป็นถิ่นเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะความเกิดขึ้นใน
อายตนะนั้นนั่นแหละ โดยความเป็นที่อาศัย (นิสสยปัจจัย) และเป็นอารมณ์
(อารัมมณปัจจัย ) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง อายตนะมีจักขุเป็นต้น
เป็นเหตุ (การณะ) ของจิต และเจตสิกเหล่านั้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุ
เป็นต้นเหล่านั้นไม่มี จิตและเจตสิกก็หามีไม่.
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า อายตนะ ด้วยเหตุแม้เหล่านั้น คือ เพราะ
อรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่
ประชุม เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ด้วยประการ
ฉะนี้ เพราะฉะนั้น ว่าโดยอรรถตามที่กล่าวมา จักขุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย
จึงชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธรรมายตนะ.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะ


ก็ข้อว่า โดยลักษณะ นั้น คือ พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้
โดยลักษณะแห่งอาตนะมีจักขุเป็นต้น ก็แต่ลักษณะนั้นของอายตนะมีจักขุ