เมนู

ธรรมดา ชิวหา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา รส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
โผฏฐัพพะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรวนไปเป็นธรรมดา
มโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

2. อายตนวิภังคนิเทศ

(บาลีข้อ 97)

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสุตตันตภาชนีย์ในอายตน-
นิเทศอันเป็นลำดับต่อจากขันธวิภังคนิเทศนั้นก่อน จึงตรัสพระบาลีว่า
ทฺวาทสายตนานิ จกฺขุวายตนํ รูปยตนํ (อายตนะ 12 คือ จักขายตนะ
รูปายตนะ) เป็นต้น ในอายตนะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยบาลีมุตตกะก่อน.
อฺถลกฺขณตาวตฺถ กมสํเขปวิตฺถารา
ตถา ทฏฺฐพฺพโต เจว วิญฺญาตพฺโพ วินิจฺฉโย

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉันโดยอรรถ 1
โดยลักษณะ 1 โดยความมีเพียงเท่านั้น 1
โดยลำดับ 1 โดยย่อ 1 โดยพิสดาร 1
โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น 1.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.
1. จกฺขตีติ จกฺขุ* ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น
อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง
2. รูปยตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ
อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแหงวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.
3. สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.
4. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป
คือ เปล่งออกไป.
5. ฆายตีติ ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.
6. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น
คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.
7. ชีวิตํ อวหานตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า
นำมาซึ่งชีวิต.
8. รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็น
ที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.
* จกฺขุวิญฺญาณธิฏญิตํ หุติวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น
ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกระบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา
มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหํ ปมุขํ ดัง
คาถาประพันธ์ไว้ว่า
จกฺขกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ
เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ
จากธาตุปฺปทีปิกา