เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


บัดนี้ เป็นปัญหาปุจฉกะ (หมวด 3 ปัญหา) ในปัญหาปุจฉกะนั้น
บัณฑิตพึงทราบในการถามปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาธรรม
ใดที่ได้และไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ กติ กุสลา กติ
อกุสลา กติ อพฺยากตา
(บรรดาขันธ์ 5 ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหน
เป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต) ดังนี้นั้น ในการวิสัชนา พระองค์ทรง
ยกธรรมที่ได้เท่านั้นขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ อพฺยากโต (รูปขันธ์
เป็นอัพยากฤต) ดังนี้. ก็ในที่ใด ๆ พระองค์ไม่ทรงกำหนดว่า เป็นขันธ์หนึ่ง
หรือขันธ์สอง ก็จะทรงตั้งตันติ (แบบแผน) ไว้โดยนัยมีอาทิว่า สิยา อุปฺปนฺนา
สิยา อนุปปนฺนา
(ขันธ์ 5 เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี) ดังนี้
ในที่นั้น ๆ พึงทราบการถือเอาขันธ์แม้ทั้ง 5. การจำแนกกุศลเป็นต้นของขันธ์
เหล่านั้น ๆ ที่เหลือ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ* ในหนหลัง
แล้วแล.
ก็ในอารัมมณิกะทั้งหลาย ขันธ์ 4 ย่อมเป็นปริตตารัมมณะ
แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น
ปรารภกามาวจรธรรม 55 ดวง เป็นมหัคคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด
ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภรูปาวจรและอรุปาวจรธรรม
27 ดวง และเป็นอัปปมาณารัมมณะ แก่บุคคลผู้พิจารณามรรค ผล และ
พระนิพพาน แต่เป็นนวัตตัพพารมณ์ (อารมณ์บัญญัติ ) ในเวลาพิจารณา
บัญญัติ ฉะนี้แล.
* อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

ขันธ์ 4 เหล่านั้นนั่นเอง เป็นมัคคารัมมณะในวลาที่พระเสขะและ
อเสขะพิจารณามรรค. เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ) โดยเหตุที่เกิด
พร้อมกันในกาลแห่งมรรค. เป็นมัคคาธิปติ โดยอารัมมณาธิปติ ในเวลา
พิจารณาทำมรรคให้หนัก (เป็นใหญ่). อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ 4 เป็นมัคคาธิปติ
ด้วยอธิบดีที่เกิดพร้อมกันของบุคคลผู้เจริญมรรคมีวิริยะเป็นใหญ่ หรือมีวิมังสา
เป็นใหญ่ แต่ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคลผู้เจริญมรรคมีฉันทะ
เป็นใหญ่ หรือมีจิตเป็นใหญ่.
ก็ขันธ์ เป็นอตีตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง
ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว.
เป็นอนาคตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัดเป็นผู้ปรารภธรรมมีขันธ์เป็นต้น
ที่ยังมาไม่ถึง. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ แก่บุคคลเหล่านั้นแหละผู้ปรารภ
ธรรมเหล่านั้นแหละที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. เป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคล
ผู้พิจารณาบัญญัติ หรือพระนิพพาน.
อนึ่ง ขันธ์ 4 พึงทราบว่าเป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด
ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะของ
ตน เป็นพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้ปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะ ของบุคคล
เหล่าอื่น เป็นไปอยู่อย่างนั้น เป็นพหิทธารัมมณะนั่นแหละ แม้ในกาลที่
พิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้
ประพฤติอย่างนั้นในอัชฌัตตธรรมตามกาล ในพหิทธธรรมตามกาล เป็น
นวัตตัพพารัมมณะ ในกาลแห่งอากิญจัญญายตนะ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจำแนกขันธ์วิภังค์นี้นำออก 3 ปริวรรต*
ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ก็ในปริวรรตแม้ทั้ง 3
มีปริจเฉทเดียวเท่านั้น เพราะรูปขันธ์เป็นกามาพจรอย่างเดียวในที่ทั้งปวง
ขันธ์ 4 เป็นไปในภูมิ 4 พระองค์ตรัสไว้ปะปนกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตตระแล.
ขันธวิภังคนิเทศที่หนึ่ง
แห่งสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์ จบ
* หมุนไป 3 อย่าง.

2. อาตนวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[97]

อายตนะ 12 คือ


1. จักขายตนะ
2. รูปายตนะ
3. โสตายตนะ
4. สัททายตนะ
5. ฆานายตนะ
6. คันธายตนะ
7. ชิวหายตนะ
8. รสายตนะ
9. กายายตนะ
10. โผฏฐัพพายตนะ
11. มนายตนะ
12. ธรรมายตนะ

[98] จักขุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไป
เป็นธรรมดา รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา โสตะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา สัททะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา ฆานะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา คันธะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น