เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


บัดนี้ เป็นปัญหาปุจฉกะ (หมวด 3 ปัญหา) ในปัญหาปุจฉกะนั้น
บัณฑิตพึงทราบในการถามปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาธรรม
ใดที่ได้และไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ กติ กุสลา กติ
อกุสลา กติ อพฺยากตา
(บรรดาขันธ์ 5 ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหน
เป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต) ดังนี้นั้น ในการวิสัชนา พระองค์ทรง
ยกธรรมที่ได้เท่านั้นขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ อพฺยากโต (รูปขันธ์
เป็นอัพยากฤต) ดังนี้. ก็ในที่ใด ๆ พระองค์ไม่ทรงกำหนดว่า เป็นขันธ์หนึ่ง
หรือขันธ์สอง ก็จะทรงตั้งตันติ (แบบแผน) ไว้โดยนัยมีอาทิว่า สิยา อุปฺปนฺนา
สิยา อนุปปนฺนา
(ขันธ์ 5 เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี) ดังนี้
ในที่นั้น ๆ พึงทราบการถือเอาขันธ์แม้ทั้ง 5. การจำแนกกุศลเป็นต้นของขันธ์
เหล่านั้น ๆ ที่เหลือ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ* ในหนหลัง
แล้วแล.
ก็ในอารัมมณิกะทั้งหลาย ขันธ์ 4 ย่อมเป็นปริตตารัมมณะ
แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น
ปรารภกามาวจรธรรม 55 ดวง เป็นมหัคคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด
ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภรูปาวจรและอรุปาวจรธรรม
27 ดวง และเป็นอัปปมาณารัมมณะ แก่บุคคลผู้พิจารณามรรค ผล และ
พระนิพพาน แต่เป็นนวัตตัพพารมณ์ (อารมณ์บัญญัติ ) ในเวลาพิจารณา
บัญญัติ ฉะนี้แล.
* อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี