เมนู

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัญญาขันธ์


แม้สัญญาขันธ์เป็นต้นก็พึงทราบโดยอุบายนี้.*
จริงอยู่ ในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ย่อมได้แม้เวทนาติกะ และปิติกะ
ในติกะทั้งหลายโดยสิ้นเชิง แม้ธรรมมีสุขสหคตะเป็นต้น ก็ย่อมได้แม้ในทุกะ
ทั้งหลาย.
ในนิเทศแห่งสังขารขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า สัมปยุต
ด้วยผัสสะ เพราะแม้ผัสสะก็เป็นธรรมนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่ตรัสคำว่า
จิตฺตสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยจิต ) และในนิเทศแห่งขันธ์นี้ ธรรมทั้งหลาย
แม้มีเหตุทุกะเป็นต้น ย่อมได้ในทุกะทั้งหลาย ธรรมหมวดติกะเป็นเหมือน-
สัญญาขันธ์นั่นแล.
ในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสความที่
วิญญาณขันธ์เป็นธรรมเกิดแต่จักขุสัมผัส แต่ตรัสคำว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุ
วิญญาณ) เป็นต้น เพราะใคร ๆ ไม่อาจเพื่อแสดงว่า วิญญาณเกิดแต่มโนสัม-
ผัส
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวในสัญญาขันธ์นั่นแล.
ก็ในนิเทศแห่งขันธ์แม้ทั้ง 3 เหล่านี้ ได้ธรรมหมวดติกะและทุกะ
มากกว่านิเทศแห่งเวทนาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวาระด้วยอำนาจ
แห่งธรรมติกะและทุกะเหล่านั้นเถิด ฉะนี้แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
* โดยเหมือนเวทนาขันธ์

ปัญหาปุจฉกะ


[84]

ขันธ์ 5 คือ


1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา


บรรดาขันธ์ 5 ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหน
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา


[85] รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ 4 [เบื้องปลาย] เป็นกุศลก็มี
เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ขันธ์ 2 [เบื้องต้น ] กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็น
สุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต
ขันธ์ 3 [เบื้องปลาย] เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี
เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี รูปขันธ์เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม
ขันธ์ 4 เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมธรรม
ก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ขันธ์
4 เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนา-