เมนู

สภาวธรรมนี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.
พหุวิธวาร จบ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ขันธวิภังคนิเทศ วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


ว่าด้วยนิเทสรูปขันธ์


บัดนี้ เป็นอภิธรรมภาชนีย์ คือนัยที่ทรงจำแนกโดยพระอภิธรรม ใน
อภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตพึงทราบนิเทศรูปขันธ์โดยนัยที่ข้าพเจ้าให้พิสดาร
ไว้ในรูปกัณฑ์ (แห่งอรรถสาลินีอรรถกถาธรรมสังคณี) ในหนหลังนั่นแล.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาขันธ์


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาขันธ์ ต่อไป
บทว่า เอกวิเธน แก้เป็น เอกโกฏฺฐาเสน แปลว่า หมวดหนึ่ง.
บทว่า ผสฺสสมฺปยุตฺโต แยกบทเป็น ผสฺเสน สมฺปยุตฺโต
แปลว่า สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาที่เป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด ได้แก่
เวทนาในสเหตุกทุกะ* คือที่เป็นสเหตุกเวทนาเป็นเวทนาเป็นไปในภูมิ 4 ที่
เป็นอเหตุกะเวทนาเป็นกามาพจรอย่างเดียว พึงทราบเวทนาที่ตรัสโดยบทแห่ง
กุศลเป็นต้นโดยอุบายนี้.
อีกอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเวทนาขันธ์นี้อย่างเดียว
โดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยผัสสะ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 2 อย่าง โดยเป็น
* สเหตุกทุกะ คือ เวทนาที่เป็นสเหตกะและอเหตุกะ.

เวทนาประกอบด้วยเหตุและไม่ประกอบด้วยเหตุ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 3
อย่าง โดยการเกิด ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 4 อย่าง โดยความต่างแห่งภูมิ
ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 5 โดยความเป็นอินทรีย์ บรรดาเวทนาหมวดละ 5
เหล่านั้น เวทนาที่เป็นสุขินทรีย์และทุกขินทรีย์อาศัยกายประสาทเกิดขึ้นเป็น
กามาพจรอย่างเดียว เวทนาที่เป็นโสมนัสสินทรีย์เป็นไปในภูมิ 3 อาศัยวัตถุที่ 6
เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัยวัตถุที่ 6 เกิดขึ้นก็มี. เวทนาที่เป็นโทมนัสสินทรีย์ อาศัย
วัตถุที่ 6 เกิดขึ้นเป็นกามพจร. เวทนาที่เป็นอุเบกขินทรีย์เป็นไปในภูมิ คือ
อาศัยประสาท 4 มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุที่ 6 เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัย
วัตถุเกิดขึ้นก็มี. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 6 อย่าง โดยวัตถุ บรรดาเวทนา
6 เหล่านั้น เวทนา 5 ข้างต้นอาศัยประสาท 5 มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้น เป็น
กามาพจรอย่างเดียว เวทนาที่ 6 ไม่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี
ซึ่งเป็นไปในภูมิ 4. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 7 อย่าง ในเวทนา 6 อย่าง
เหล่านั้น โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 8 อย่าง
ในเวทนา 7 อย่างนั้น โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่การสัมผัส. ทรงแสดงเวทนา
หมวดละ 9 อย่าง โดยประเภทเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ในประเภทแห่งเวทนา 7 อย่าง. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ 10 อย่าง โดย
ประเภทแห่งเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ในประเภทแห่งเวทนา
8 อย่าง.
จริงอยู่ ในเวทนาเหล่านี้ มโนสัมผัสสชาเวทนาในประเภทเวทนา
หมวดละ 7 อย่าง แยกเป็น 2 คือ มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา และมโนวิญญาณ
ธาตุสัมผัสสชาเวทนา. ในประเภทเวทนาหมวดละ 8 อย่าง แยกเป็น 2 คือ
สุขเกิดแต่กายสัมผัส ทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส รวมกับมโนสัมผัสสชาเวทนานั้น.

ในประเภทเวทนาหมวดละ 9 อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา
ตามที่ตรัสไว้ในประเภทเวทนา 7 ทรงแยกเป็น 3 ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น.
ในเวทนาขันธ์ 10 อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนาตามที่ตรัส
ไว้ในเวทนาขันธ์ 8 อย่าง ทรงแยกเป็น 3 ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้นนั้นแหละ
ก็ในเวทนาขันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาประกอบด้วยกุศลติกะเพื่อทำ
บทให้เต็มเท่านั้น แต่ในประเภทเวทนาหมวดละ 7 อย่าง 8 อย่าง และ 9 อย่าง
เพื่อต้องการประทานนัย จึงทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่ควรประทาน เพราะ
เพ่งถึงพระอภิธรรม พระตถาคตเจ้าชื่อว่า มิได้ทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่
ควรประทาน มิได้มี. นี้เป็นวาระหนึ่งในทุกมูลก่อน.
จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อทรงจำแนกเวทนาขันธ์ในอภิธรรมภาชนีย์นี้
ทรงถือเอาธรรมหมวดติกะ (หมวด 3) ใส่ในธรรมหมวดทุกะ (หมวด 2)
บ้าง ทรงถือเอาธรรมหมวดทุกะใส่ในธรรมหมวดติกะบ้าง ทรงถือเอาธรรม
หมวด 3 และหมวด 2 แล้วนำมาโดยทำนองแห่งธรรมอันให้เพิ่มขึ้นทั้ง 2
ย่อมทรงแสดงเวทนาขันธ์โดยมากอย่าง แม้ในที่ทั้งปวง คือ ทรงแสดงเวทนา
หมวดละ 7 อย่าง เวทนาหมวดละ 24 อย่าง เวทนาหมวดละ 30 อย่าง
และเวทนามากอย่าง เพราะเหตุไร ? เพราะทรงแสดงตามอัชฌาศัยของบุคคล
และเพื่อความไพเราะแห่งเทศนา (เทสนาวิลาส).

ว่าด้วยเทศนาตามอัชฌาศัยบุคคล



จริงอยู่ เทวบุตรเหล่าใดในเทวบริษัทที่นั่งเพื่อจะฟังธรรม ย่อมอาจ
เพื่อแทงตลอดพระดำรัสที่พระศาสดาทรงถือเอาธรรมหมวดติกะใส่เข้าในธรรม
หมวดทุกะแสดงอยู่ พระองค์ก็ทรงแสดงกระทำเหมือนอย่างนั้น ด้วยอำนาจ
สัปปายะของเทวบุตรเหล่านั้น เทวบุตรเหล่าใด อาจเพื่อแทงตลอดธรรมที่
พระองค์ตรัสโดยอาการอย่างอื่นก็ทรงแสดงด้วยอาการเหล่านั้นแก่เทพบุตร
เหล่านั้น. นี้เป็นอัชฌาศัยของบุคคลในการทรงเทศนาเวทนาขันธ์นี้.