เมนู

ในความอุปมานั้น รูปกาย พึงเห็นเหมือนชายตาบอดแต่กำเนิด อรูป-
กาย (นามกาย) เหมือนคนเปลี้ย. รูปกายเว้นนามกายก็ไม่สามารถให้ถึงการ
ยึดถือ การจับ และการเคลื่อนไหวได้ เหมือนเวลาที่ชายตาบอดแต่เว้นคนเปลี้ย
ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังถิ่นต่าง ๆ ได้. อรูป (นามกาย) เว้นรูป
เสียก็เป็นไปไม่ได้ในปัญจโวการภพ เหมือนคนเปลี้ยเว้นชายตาบอดแต่กำเนิด
ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปสู่ถิ่นต่าง ๆ ได้. รูปธรรมและอรูปธรรม
มีสภาพเป็นไปในกิจทั้งปวงได้ด้วยการประกอบซึ่งกันและกัน เหมือนเวลาที่ชาย
ตาบอดและคนเปลี้ยแม้ทั้งสองไปสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกันแล้ว
เป็นอยู่สบาย ฉะนั้น. ปัญหานี้ท่านอาจารย์กล่าวได้ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.

ว่าด้วยการรับอารมณ์โดยมีอุปนิสสยปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า การรับอารมณ์ ต่อไป
จักษุย่อมรับอารมณ์เฉพาะรูป โสตเป็นต้นก็รับอารมณ์เฉพาะเสียง
เป็นต้น. คำว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ คือ โดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (ต้องอาศัยแน่นอนขาดไม่ได้) และโดยความเป็นประโยชน์.

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย 4 เกิดขึ้น


ในข้อว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยและโดยเป็นประโยชน์นั้น จักขุวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้เพราะอาศัยปัจจัย 4 คือ
อสมฺภินฺนตฺตา จกฺขุสฺส เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ
อาปาถคตฺตา รูปานํ เพราะรูปมาสู่คลอง
อาโลกสนฺนิสฺสิตํ อาศัยแสงสว่าง
มนสิการเหตุกํ อาศัยมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาปัจจัย 4 เหล่านั้น จักษุแม้ของคนตายย่อมเป็นของแตกดับ
ไปสิ้น จักษุของคนมีชีวิตดับไปก็ดี หรือถูกน้ำดีหรือเสมหะหรือโลหิตขัดขวาง
แล้วก็ดี ไม่อาจเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ชื่อว่าแตกดับไปแล้ว เมื่อสามารถ
เป็นปัจจัยได้ ชื่อว่า ไม่แตกดับ.
แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ก็เมื่อจักขุประสาทแม้ยังไม้แตกดับ แต่รูปารมณ์ภายนอกยังไม่มาสู่คลอง
จักษุประสาท จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อรูปนั้นมาสู่คลองแล้ว แต่ปัจจัย
ที่อาศัย คือ แสงสว่างไม่มี จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อแสงสว่างซึ่งเป็น
ปัจจัยนั้นมีอยู่ แต่กิริยามโนธาตุไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็เกิด
ไม่ได้ เมื่อกิริยามโนธาตุทำภวังค์ให้เปลี่ยนไปได้ จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น
(จึงเกิดการเห็นได้). จักขุวิญญาณเมื่อเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้น
พร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายโดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า จักขุวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้น เพราะได้ปัจจัย 4 เหล่านี้ทีเดียว.
โสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย 4
เหล่านี้ คือ
อสมฺภินฺนตฺตา โสตสฺส เพราะโสตประสาทยังไม่แตกดับ
อาปาถคตตฺตา สทฺทานํ เพราะเสียงทั้งหลายมาสู่คลอง
อาสาสสนฺนิสฺสิตํ อาศัยอากาศ
มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.
บรรดาปัจจัย 4 เหล่านั้น คำว่า อาศัยอากาศ คือ โสตวิญญาณนั้น
ได้อาศัยอากาศจึงเกิดขึ้น เว้นอากาศก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลปิดช่องหูเสีย
โสตวิญญาณก็ไม่เป็นไป. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ คือ แม้

ฆานวิญญาณเป็นต้นนอกจากนี้ ก็พึงทราบความเหมือนในโสตวิญญาณนี้
ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.
ฆานวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย 4
เหล่านี้ คือ
อสมฺภินฺนตฺตา ฆานสฺส เพราะฆานประสาทยังไม่แตกดับ
อาปาถคตตฺตา คนฺธานํ เพราะกลิ่นทั้งหลายมาสู่คลอง
วาโยสนฺนิสฺสิตํ อาศัยวาโย
มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.
บรรดาเหตุ 4 เหล่านั้น คำว่า อาศัยวาโย อธิบายว่า เมื่อวาโย
พากลิ่นทั้งหลายเข้าไปสู่ช่องจมูกนั่นแหละ ฆานวิญญาณจึงเกิด เมื่อลมไม่มี
ฆานวิญญาณก็ไม่เกิด.
ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายเพราะปัจจัย 4
เหล่านี้ คือ
อสมฺภินฺนตฺตตา ชิวฺหาย เพราะชิวหาประสาทยังไม่แตกดับ
อาปาถคตตฺตา รสานํ เพราะรสทั้งหลายมาสู่คลอง
อาโปสนฺนิสฺสิตํ อาศัยอาโป
มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.
บรรดาปัจจัย 4 เหล่านั้น คำว่า อาศัยอาโป ความว่า ได้อาโป
ทำให้เปียก ฆานวิญญาณจึงเกิด เว้นอาโปก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลลิ้นแห้ง
แม้วางขาทนียะที่แห้งไว้ที่ลิ้น ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้น.
กายวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย 4
เหล่านี้ คือ

อสมฺภินฺนตฺต กายสฺส เพราะประสาทกายยังไม่แตกดับ
อาปาถคตตฺตา โผฏฺฐพฺพานํ เพราะโผฏฐัพพะไม่มาสู่คลอง
ปฐวีสนฺนิสฺสิตํ อาศัยปฐวี
มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.
บรรดาปัจจัย เหล่านั้น คำว่า อาศัยปฐวี ได้แก่ อาศัยปฐวี
ที่ควบคุมกัน คือกายประสาทเป็นปัจจัยนั่นแหละ กายวิญญาณจึงเกิดขึ้น เว้น
กายประสาทแล้ว กายวิญญาณก็ไม่เกิด เพราะมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ภายนอก
กระทบกายประสาทในภายในที่กายทวาร ย่อมกระทบที่มหาภูตรูปทั้งหลายที่มี
ประสาทเป็นปัจจัย.
มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย
4 เหล่านี้ คือ
อสมฺภินฺนตฺตา มนสฺส เพราะมโนยังไม่แตกดับ
อาปาถคตตฺตา ธมฺมานํ เพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง
วตฺถุสนฺนิสฺสิตํ อาศัยวัตถุ
มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.
บรรดาปัจจัย 4 เหล่านั้น คำว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต อธิบายว่า
ภวังคจิตนั้นแตกดับแล้วก็ดี มีกำลังอ่อนไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต
ให้เป็นไปก็ดี ชื่อว่า แตกดับ แต่ที่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะได้ ชื่อว่า
ยังไม่แตกดับ. คำว่าเพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง ได้แก่เมื่อธรรมารมณ์
มาสู่คลอง. คำว่า อาศัยวัตถุ คือได้อาศัยหทยวัตถุเท่านั้นจึงเกิดขึ้น เว้น
หทยวัตถุก็ไม่เกิดขึ้น. ปัญหาแม้นี้พระเถระกล่าวหมายถึงปัญจโวการภพ. คำว่า
มีมนสิการเป็นเหตุ อธิบายว่า กิริยามโนวิญญาณธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป

ก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. พรรณนาอุปนิสสยปัจจัยในข้อว่า การรับ
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์
นี้เพียงเท่านี้.
ก็จักขุเป็นอรรถชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) โสต
เป็นอรรถชื่อว่า สวนัตถะ (มีการฟังเป็นอรรถ) ฆานะเป็นอรรถชื่อว่า
ฆานัตถะ (มีการสูดกลิ่นเป็นอรรถ) ชิวหาเป็นอรรถ ชื่อว่า สายนัตถะ
(มีการลิ้มรสเป็นอรรถ) กายเป็นอรรถชื่อว่า ผุสนัตถะ (มีการถูกกระทบ
เป็นอรรถ) มโนเป็นอรรถชื่อว่า วิชานนัตถะ (มีการรู้เป็นอรรถ).
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า มีการเห็นเป็นอรรถเป็นต้นต่อไป
การเห็นเป็นอรรถของจักขุวิญญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณ
นั้นจึงชื่อว่า ทัสสันตถะ จริงอยู่ การเห็นนั้นอันจักขุพึงให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทัสสันตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันจบวิบากจิต 16 ดวง ในวาทะของ
พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกพร้อมกับวิบากจิต 12 ดวง และอเหตุกจิต
8 ดวง เพียงเท่านี้.

วิบากจิต 2 ดวงในวาทะพระมหาทัตตเถระ


บัดนี้ เป็นกถามรรควิบากจิต 12 ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระ
ผู้อยู่ในโมรวาปี. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต การถือส่วนข้างมากและ
การแสดงเหตุเป็นไปตามปกติทั้งนั้น แต่พระเถระนี้เห็นข้อบกพร่องในจิตที่
เป็นอสังขาริกและสังขาริก จึงกล่าวว่า กรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากที่
เป็นอสังขาริกไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก แม้กรรมที่เป็นสสังขาริกก็ย่อมให้
วิบากเป็นสสังขาริกเท่านั้นไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก และพระเถระนี้ไม่กล่าว