เมนู

ย่อมทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ ชวนจิตก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่เสวยรสอารมณ์
ส่วนจักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมทำกิจก็เห็น (ทัสสนกิจ) โดยส่วนเดียว ดังนี้.
คำว่า มะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย นี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในภาย
หลังแล้ว คำนี้ กล่าวหมายเอาอุปมาด้วยผลมะม่วง และอุปมาด้วยเจ้าของโรง-
หีบอ้อย.

นามรูปเปรียบด้วยชายบอดและคนเปลี้ย


คำว่า ชายบอดและคนเปลี้ย ความว่า ได้ยินว่า ในศาลาใกล้
ประตูพระนคร มีชายตาบอดแต่กำเนิดและคนเปลี้ยสนทนากันอยู่ ในบรรดา
คนทั้งสองนั้น คนเปลี้ยพูดว่า เจ้าบอด เพราะเหตุไร เจ้าจึงซูบซีดอยู่ในที่นี้
เจ้าเที่ยวไปประเทศโน้นซึ่งมีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวน้ำมาก เจ้าไปในที่นั้นก็เป็น
อยู่สบายไม่สมควรหรือ ชายตาบอดพูดว่า เจ้าบอกเราก่อนแล้ว แต่เจ้าเล่า
ไปในที่นั้นก็อยู่สบายไม่สมควรหรือ.
คนเปลี้ย : เท้าที่จะเดินของเราไม่มี
ชายบอด : ตาของเราจะดูไม่มี.
คนเปลี้ย : ถ้าอย่างนั้น เจ้าเป็นเท้า เราเป็นตา.
คนทั้ง 2 ต่างก็รับคำกันแล้ว ชายบอดให้คนเปลี้ยขี่คอไป คนเปลี้ย
นั้นนั่งขี่คอของชายบอดเอามือซ้ายโอบศีรษะชายตาบอด เอามือขวากำหนดทาง
บอกว่า ในที่นี้มีรากไม้ขวางอยู่ ในที่นี้มีหิน ท่านจงละทางซ้ายถือเอาทางขวา
จงละทางขวาถือเอาทางซ้าย ดังนี้ เท้าเป็นของคนตาบอดแต่กำเนิด ตาเป็น
ของคนเปลี้ย คนแม้ทั้งสองไปแล้วสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกัน
เป็นอยู่แล้วเป็นสุข ด้วยประการฉะนี้.

ในความอุปมานั้น รูปกาย พึงเห็นเหมือนชายตาบอดแต่กำเนิด อรูป-
กาย (นามกาย) เหมือนคนเปลี้ย. รูปกายเว้นนามกายก็ไม่สามารถให้ถึงการ
ยึดถือ การจับ และการเคลื่อนไหวได้ เหมือนเวลาที่ชายตาบอดแต่เว้นคนเปลี้ย
ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังถิ่นต่าง ๆ ได้. อรูป (นามกาย) เว้นรูป
เสียก็เป็นไปไม่ได้ในปัญจโวการภพ เหมือนคนเปลี้ยเว้นชายตาบอดแต่กำเนิด
ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปสู่ถิ่นต่าง ๆ ได้. รูปธรรมและอรูปธรรม
มีสภาพเป็นไปในกิจทั้งปวงได้ด้วยการประกอบซึ่งกันและกัน เหมือนเวลาที่ชาย
ตาบอดและคนเปลี้ยแม้ทั้งสองไปสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกันแล้ว
เป็นอยู่สบาย ฉะนั้น. ปัญหานี้ท่านอาจารย์กล่าวได้ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.

ว่าด้วยการรับอารมณ์โดยมีอุปนิสสยปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า การรับอารมณ์ ต่อไป
จักษุย่อมรับอารมณ์เฉพาะรูป โสตเป็นต้นก็รับอารมณ์เฉพาะเสียง
เป็นต้น. คำว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ คือ โดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (ต้องอาศัยแน่นอนขาดไม่ได้) และโดยความเป็นประโยชน์.

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย 4 เกิดขึ้น


ในข้อว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยและโดยเป็นประโยชน์นั้น จักขุวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้เพราะอาศัยปัจจัย 4 คือ
อสมฺภินฺนตฺตา จกฺขุสฺส เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ
อาปาถคตฺตา รูปานํ เพราะรูปมาสู่คลอง
อาโลกสนฺนิสฺสิตํ อาศัยแสงสว่าง
มนสิการเหตุกํ อาศัยมนสิการเป็นเหตุ.