เมนู

จิตเปรียบด้วยเด็กชาวบ้าน


คำว่า เด็กชาวบ้าน คือ พวกเด็กชาวบ้านเป็นอันมากย่อมเล่นฝุ่น
ที่ระหว่างทาง บรรดาพวกเด็กเหล่านั้น กหาปณะกระทบมือของเด็กคนหนึ่ง
เด็กคนนั้นพูดว่า นั่นอะไร กระทบมือของเรา ดังนี้. ลำดับนั้น เด็กคนหนึ่ง
จึงพูดว่า นั่นสีขาว ดังนี้. อีกคนหนึ่งก็ถือไว้มั่นคงพร้อมกับฝุ่น คนอื่นพูดว่า
นั่นสี่เหลี่ยมหนา คนอื่นอีกพูดว่า นั่นกหาปณะ ลำดับนั้น พวกเขาจึงนำ
เหรียญกหาปณะนั้นมาให้มารดา มารดาก็นำไปใช้ในการงาน.
ในข้อนั้น ความเป็นไปของภวังคจิต พึงเห็นเหมือนเวลาที่พวกเด็ก
มากด้วยกันนั่งเล่นในระหว่างทาง. เวลาที่ประสาทถูกอารมณ์กระทบแล้วเหมือน
เวลาที่กหาปณะกระทบมือ. เวลาที่กิริยามโนธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปรับอารมณ์
นั้นเหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นอะไร. เวลาที่จักขุวิญญาณทำทัสสนกิจ
เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นสีขาว. เวลาที่วิบากมโนธาตุทำหน้าที่รับ
อารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งถือกหาปณะพร้อมกับฝุ่นไว้มั่น. เวลาที่วิบาก-
มโนวิญญาณธาตุทำกิจพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่น
สี่เหลี่ยมหนา. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ เหมือน
เวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นกหาปณะ การที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ พึงทราบ
เหมือนเวลาที่มารดานำกหาปณะไปใช้ในการงานฉะนั้น.
ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้รู้ถึงอะไร ?
ตอบว่า ย่อมแสดงให้รู้ว่า กิริยามโนธาตุยังมิได้เห็นเลย ยังภวังค์ให้
เปลี่ยนไป วิบากมโนธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่รับอารมณ์ วิบากมโนวิญญาณ
ธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ไม่เห็น

ย่อมทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ ชวนจิตก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่เสวยรสอารมณ์
ส่วนจักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมทำกิจก็เห็น (ทัสสนกิจ) โดยส่วนเดียว ดังนี้.
คำว่า มะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย นี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในภาย
หลังแล้ว คำนี้ กล่าวหมายเอาอุปมาด้วยผลมะม่วง และอุปมาด้วยเจ้าของโรง-
หีบอ้อย.

นามรูปเปรียบด้วยชายบอดและคนเปลี้ย


คำว่า ชายบอดและคนเปลี้ย ความว่า ได้ยินว่า ในศาลาใกล้
ประตูพระนคร มีชายตาบอดแต่กำเนิดและคนเปลี้ยสนทนากันอยู่ ในบรรดา
คนทั้งสองนั้น คนเปลี้ยพูดว่า เจ้าบอด เพราะเหตุไร เจ้าจึงซูบซีดอยู่ในที่นี้
เจ้าเที่ยวไปประเทศโน้นซึ่งมีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวน้ำมาก เจ้าไปในที่นั้นก็เป็น
อยู่สบายไม่สมควรหรือ ชายตาบอดพูดว่า เจ้าบอกเราก่อนแล้ว แต่เจ้าเล่า
ไปในที่นั้นก็อยู่สบายไม่สมควรหรือ.
คนเปลี้ย : เท้าที่จะเดินของเราไม่มี
ชายบอด : ตาของเราจะดูไม่มี.
คนเปลี้ย : ถ้าอย่างนั้น เจ้าเป็นเท้า เราเป็นตา.
คนทั้ง 2 ต่างก็รับคำกันแล้ว ชายบอดให้คนเปลี้ยขี่คอไป คนเปลี้ย
นั้นนั่งขี่คอของชายบอดเอามือซ้ายโอบศีรษะชายตาบอด เอามือขวากำหนดทาง
บอกว่า ในที่นี้มีรากไม้ขวางอยู่ ในที่นี้มีหิน ท่านจงละทางซ้ายถือเอาทางขวา
จงละทางขวาถือเอาทางซ้าย ดังนี้ เท้าเป็นของคนตาบอดแต่กำเนิด ตาเป็น
ของคนเปลี้ย คนแม้ทั้งสองไปแล้วสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกัน
เป็นอยู่แล้วเป็นสุข ด้วยประการฉะนี้.