เมนู

ก็แมลงมุมริมทางตัวหนึ่งขึงใยไป 5 ทิศ ทำข่ายแล้วนอนอยู่ตรงกลาง
เมื่อใยที่ขึงไปในทิศแรกถูกกระทบด้วยสัตว์เล็ก ๆ หรือตั๊กกระแตนหรือแมลงวัน
มันก็จะเคลื่อนออกจากที่เป็นที่นอนไปตามสายใยเจาะศีรษะดูดเลือดของสัตว์นั้น
แล้วกลับมานอน ณ ท่ามกลางใยนั้นนั่นแหละอีก แม้ในเวลาที่ทิศที่ 2 เป็นต้น
ถูกกระทบแล้วก็กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ
ในข้อนั้น ประสาททั้ง 5 พึงทราบว่า เหมือนใยแมลงมุมที่ขึงไป
5 ทิศ. จิตเหมือนแมลงมุมนอนในท่ามกลาง. เวลาที่อารมณ์มากระทบประสาท
เหมือนเวลาที่สัตว์เล็ก ๆ เป็นต้นมากระทบใยแมลงมุม. เวลาที่กิริยามโนธาตุ
รับอารมณ์ที่กระทบประสาทแล้วยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนการไหวของแมลง
มุมซึ่งนอนท่ามกลาง. ความเป็นไปของวิถีจิต เหมือนเวลาการไปตามสายใย
ของแมลงมุม. เวลาที่ชวนจิตเสพอารมณ์ เหมือนการเจาะศีรษะดูดเลือด.
การที่จิตอาศัยหทัยวัตถุเป็นไป เหมือนแมลงมุมกลับมานอนในท่ามกลางใยอีก.
ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร ?
ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบว่า เมื่ออารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิต
ที่อาศัยหทัยรูปเกิด ย่อมเกิดขึ้นก่อนกว่าจิตที่อาศัยประสาทรูปเกิด คือ ย่อม
อธิบายให้ทราบว่า อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่คลองในทวารทั้งสอง ดังนี้.

จิตเปรียบด้วยนายทวารเป็นต้น


พระราชาพระองค์หนึ่งบรรทมหลับอยู่บนแท่นบรรทม มหาดเล็กของ
พระองค์ นั่งถวายงานนวดพระยุคลบาทอยู่ มีนายทวารหูหนวกยืนอยู่ที่พระทวาร
มีทหารยามเฝ้าอยู่ 3 คน ยืนเรียงตามลำดับ ครั้งนั้น มีชาวชนบทคนหนึ่งถือ
เครื่องบรรณาการมาเคาะประตูเรียก นายทวารหูหนวกไม่ได้ยินเสียงมหาดเล็ก
ผู้ถวายงานนวดพระยุคลบาทจึงให้สัญญาณ เขาจึงเปิดประตูด้วยสัญญาณนั้น

มองดู ทหารยามคนที่หนึ่งจึงรับเครื่องบรรณาการแล้วส่งให้คนที่ 2 คนที่ 2
ส่งให้คนที่ 3 คนที่ 3 ทูลเกล้าถวายพระราชา พระราชาจึงเสวย.
ในข้อนั้น ชวนจิต พึงเห็นเหมือนพระราชาพระองค์นั้น อาวัชชนจิต
เหมือนมหาดเล็กผู้นวดพระบาท. จักขุวิญญาณ เหมือนนายประตูหูหนวก.
วิถีจิต 3 ดวงมีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น เหมือนนายทหารยาม 3 คน. การที่อารมณ์
มากระทบประสาท เหมือนชาวชนบทถือเครื่องราชบรรณาการมาเคาะประตูเรียก
เวลาที่กิริยามโนธาตุเปลี่ยนมาแต่ภวังค์ เหมือนเวลาที่มหาดเล็กผู้นวดพระยุคล-
บาทให้สัญญาณ. เวลาที่จักขุวิญญาณทำกิจเห็นอารมณ์ เหมือนเวลาที่นาย
ประตูหูหนวกเปิดประตูด้วยสัญญาณที่มหาดเล็กให้สัญญานั้น. เวลาที่วิบาก-
มโนธาตุทำสัมปฏิจฉันนกิจ คือรับอารมณ์ เหมือนเวลาทหารยามคนที่หนึ่ง
รับบรรณาการ. เวลาที่วิบากมโนวิญญาณธาตุทำสันติรณกิจ คือการพิจารณา
อารมณ์ เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่หนึ่งส่งบรรณาการให้ทหารยามคนที่สอง
แล้ว. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำโวฏฐัพพนกิจ คือ การกำหนดอารมณ์
เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่สามทูลถวายบรรณาการแด่พระราชา. เวลาที่ชวนะ
ทำชวนกิจ คือ เสวยรสอารมณ์ เหมือนเวลาที่พระราชาเสวยเครื่องบรรณาการ
ฉะนั้น.
ถามว่า อุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร ?
ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบถึงคำนี้ว่า กิจของอารมณ์มีเพียงกระทบ
ประสาทเท่านั้น. กิจทั้งหลายของจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นเพียงการเห็น
อารมณ์ การรับอารมณ์ การพิจารณาอารมณ์ และการกำหนดอารมณ์เท่านั้น
ชวนจิตเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์โดยส่วนเดียว ดังนี้.

จิตเปรียบด้วยเด็กชาวบ้าน


คำว่า เด็กชาวบ้าน คือ พวกเด็กชาวบ้านเป็นอันมากย่อมเล่นฝุ่น
ที่ระหว่างทาง บรรดาพวกเด็กเหล่านั้น กหาปณะกระทบมือของเด็กคนหนึ่ง
เด็กคนนั้นพูดว่า นั่นอะไร กระทบมือของเรา ดังนี้. ลำดับนั้น เด็กคนหนึ่ง
จึงพูดว่า นั่นสีขาว ดังนี้. อีกคนหนึ่งก็ถือไว้มั่นคงพร้อมกับฝุ่น คนอื่นพูดว่า
นั่นสี่เหลี่ยมหนา คนอื่นอีกพูดว่า นั่นกหาปณะ ลำดับนั้น พวกเขาจึงนำ
เหรียญกหาปณะนั้นมาให้มารดา มารดาก็นำไปใช้ในการงาน.
ในข้อนั้น ความเป็นไปของภวังคจิต พึงเห็นเหมือนเวลาที่พวกเด็ก
มากด้วยกันนั่งเล่นในระหว่างทาง. เวลาที่ประสาทถูกอารมณ์กระทบแล้วเหมือน
เวลาที่กหาปณะกระทบมือ. เวลาที่กิริยามโนธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปรับอารมณ์
นั้นเหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นอะไร. เวลาที่จักขุวิญญาณทำทัสสนกิจ
เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นสีขาว. เวลาที่วิบากมโนธาตุทำหน้าที่รับ
อารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งถือกหาปณะพร้อมกับฝุ่นไว้มั่น. เวลาที่วิบาก-
มโนวิญญาณธาตุทำกิจพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่น
สี่เหลี่ยมหนา. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ เหมือน
เวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นกหาปณะ การที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ พึงทราบ
เหมือนเวลาที่มารดานำกหาปณะไปใช้ในการงานฉะนั้น.
ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้รู้ถึงอะไร ?
ตอบว่า ย่อมแสดงให้รู้ว่า กิริยามโนธาตุยังมิได้เห็นเลย ยังภวังค์ให้
เปลี่ยนไป วิบากมโนธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่รับอารมณ์ วิบากมโนวิญญาณ
ธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ไม่เห็น