เมนู

แต่ละทวาร แบ่งจิตทวารละ 8 ดวง จึงรวมเป็นจิต 40 ดวงถ้วน. แต่เมื่อ
ถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้จิตในจักขุทวาร 8 ดวง อีก 4 ดวง คือ โสต-
วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ สละกายวิญญาณ จึงรวมเป็นจิต 12
ดวง เมื่อเจตนาดวงเดียวประกอบกรรมแล้วย่อมให้วิบากจิต 12 ดวง เกิดขึ้น
ได้ด้วยประการฉะนี้ กถาว่าด้วยการเปรียบด้วยผลมะม่วง และนิยาม 5 เป็นไป
ตามปกตินั่นแล. แม้ในปฏิสนธิที่สัตว์ถือเอาด้วยวิบากเช่นเดียวกับทุเหตุกจิต
ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในทุเหตุกปฏิสนธินี้ ว่าโดยการเปรียบกับคน
หีบอ้อย ก็ได้คนหีบอ้อย 7 คน ในการอุปมานั้น พึงทราบการประกอบโดย
ทำนองแห่งนัยที่กล่าวกระทำคนรับจ้างหีบอ้อย 7 คนนั้น ตระเตรียมเครื่อง
หีบอ้อยแล้วทำเจ้าของอ้อยให้เป็นคนที่ 8 นั่นแหละ ข้าพเจ้ากล่าววาระที่ว่า
ทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้

ว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ


บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ อธิบายว่า เมื่อกรรมอันกุศลจิต
ที่เป็นทุเหตุกะ 4 ดวงทำแล้ว ปฏิสนธิของสัตว์ผู้ถือเอาด้วยจิตที่เป็นอเหตุก-
มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขาเป็นกุศลวิบาก ไม่ควรกล่าวว่าเป็นเช่น
เดียวกับกรรมที่ให้ปฏิสนธิ เพราะกรรมเป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ 2)
ปฏิสนธิเป็นอเหตุกะ (จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ). เมื่อบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วย
อเหตุกจิตนั้นถึงความเจริญขึ้นแล้ว เมื่ออิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองประสาท
ในจักขุทวารแล้ว ก็พึงทราบโมฆวาระ 3 วาระ โดยนัยก่อนนั่นแหละ แต่เมื่อ
กุศลจิตที่เป็นทุเหตุกะดวงใดดวงหนึ่งเป็นชวนะสิ้นสุดลง อเหตุกะจิตก็ตั้งอยู่ใน
ความเป็นตทารัมมณะ อเหตุกจิตนั้นได้ชื่อ 2 อย่างคือ มูลภวังค์ และตทา-
รัมมณะ ในอเหตุกจิตนี้ จิต 4 ดวง คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา แม้ตทารัมมณะก็สหรคตด้วยอุเบกขาเหมือนกัน ย่อมมี
ด้วยประการฉะนี้ ในจิต 4 เหล่านั้น ถือเอาดวงหนึ่ง ก็เหลือ 3 ดวงเท่านั้น
ที่เข้าถึงการนับเอา. แต่ในอิฏฐารมณ์ สันติรณะก็ดี ตทารัมมณะก็ดี ย่อม
สหรคตด้วยโสมนัสได้เหมือนกัน บรรดาจิตเหล่านั้น วิบากจิต 3 ดวงก่อน
รวมกับดวงหนึ่งก็เป็นวิบากจิต 4 ดวง เมื่อเจตนาดวงหนึ่งทำกรรมในทวาร
5 ทวารละ 4 ดวง พึงทราบว่า ย่อมยังวิบากจิต 20 ดวงให้เกิดขึ้น แต่เมื่อ
ถือเอาธรรมที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้วิบากจิต 4 ดวงในจักขุทวาร โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณรวมเป็นวิบากจิต 8 ดวง นี้ชื่อว่า
อเหตุกจิต 8 ดวง.
อเหตุกจิต 8 ดวงนี้ ไม่ทรงถือเอามนุษยโลก.
ส่วนในอบาย 4 ย่อมได้จิต 8 ดวงนี้ในปวัตติกาล
จริงอยู่ เมื่อใด พระมหาโมคคัลลานเถระเนรมิตดอกปทุมในนรก
นั่งอยู่ที่กลีบดอกปทุมแสดงธรรมกถาแก่พวกสัตว์นรก เมื่อนั้นจักขุวิญญาณซึ่ง
เป็นกุศลวิบากก็เกิดขึ้นแก่พวกเขาผู้เห็นพระเถระ เมื่อฟังเสียงโสตวิญญาณกุศล
วิบากก็เกิด เมื่อพระเถระไปนั่งพักผ่อนกลางวันที่ป่าไม้จันทน์ ฆานวิญญาณก็
เกิดในเวลาสูดกลิ่นจีวร ในเวลาบันดาลฝนให้ตกดับไฟนรกแล้วได้ดื่มน้ำที่
ควรดื่ม ชิวหาวิญญาณกุศลวิบากก็เกิด ในเวลาที่บันดาลให้ลมพัดมาอ่อน ๆ
กายวิญญาณกุศลวิบากก็เกิดขึ้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้นอย่างนี้ 5 ดวง
สัมปฏิจฉันนะ 1 ดวง สันติรณะ 2 ดวง เพราะฉะนั้นจึงได้อเหตุกจิต 8 ดวง.
ปฏิสนธิแม้ของพวกนาค ครุฑและเวนานิกเปรตย่อมมีด้วยอกุศล แต่
กุศลย่อมให้ผลในปวัตติกาล ปฏิสนธิของช้างม้ามงคลเป็นต้นของพระเจ้าจักร-
พรรดิก็เหมือนกัน นี้เป็นการประพันธ์ถ้อยคำด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะใน
อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ทั้งหลายก่อน. แต่ในอิฏฐารมณ์เมื่ออกุศลจิตที่สหรคตด้วย

โสมนัส 4 ดวง เสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยโสมนัสที่เป็นกุศลวิบาก
ย่อมเป็นตทารัมมณะ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิต 4 ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ
สหรคตด้วยอุเบกขาเสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยอุเบกขากุศลวิบาก
เป็นตทารัมมณะ ก็คำใดที่ท่านกล่าวว่า ตทารัมมณะ อันชวนะพึงกำหนด
ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงกุศล.
ถามว่า ตทารัมมณะเมื่อเกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนะสหรคตด้วยโทมนัส
ย่อมเกิดจิตอะไร.
ตอบว่า จิตที่เป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากย่อมเกิดขึ้น.
ถามว่า ก็ชวนะนี้ สภาวะอะไร ย่อมกำหนดไว้โดยความเป็นกุศล
หรืออกุศล.
ตอบว่า อาวัชชนะ และโวฏฐัพพนะย่อมกำหนด.
จริงอยู่ เมื่ออาวัชชนะเปลี่ยนมาโดยแยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนด
โดยไม่แยบคาย ชวนะจักเป็นอกุศล ดังนี้ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้ เมื่ออาวัชชนะ
เปลี่ยนมาโดยไม่แยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนดโดยแยบคาย ชวนะจักเป็น
กุศล ดังนี้ ข้อนี้ก็เป็นไปไม่ได้. แต่เมื่ออาวัชชนะและโวฏฐัพพนะทั้ง 2
เปลี่ยนมากำหนดโดยแยบคาย พึงทราบว่า ชวนะเป็นกุศล ถ้าไม่แยบคายก็เป็น
อกุศล.
ถามว่า ในอิฏฐารมณ์ เมื่อความสงสัย และอุทธัจจะเกิดขึ้น ตทารัมมณะ
ย่อมเป็นจิตอะไร ?
ตอบว่า ในอิฏฐารมณ์ ความสงสัยจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม หรืออุท-
ธัจจะจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม โสมนัสจิตอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบากเท่านั้นย่อมเป็น
ตทารมณ์ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิตสหรคตด้วยอุเบกขาอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบาก

เป็นตทารมณ์ ก็ในการกำหนดตทารมณ์นี้ การแสดงเนื้อความโดยสังเขปนี้
ชื่อว่าเป็นวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระ. ก็เมื่อชวนะอันสหรคตด้วย
โสมนัสเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหาตทารัมมณจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส
5 ดวง เมื่อชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขาเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหา
จิต 6 ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขาแล.
ถามว่า ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ถือปฏิสนธิสหรคตด้วยโสมนัสยังฌาน
ให้เกิดในปวัตติกาลแล้ว มีฌานอันเสื่อมแล้วด้วยความประมาท พิจารณาอยู่ว่า
ธรรมอันประณีตของเราฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วิปฏิสาร ในกาลนั้น จิตอะไรย่อมเกิดขึ้น เพราะในคัมภีร์ปัฏฐานท่านปฏิเสธ
ว่า โทมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับแห่งโสมนัส และโสมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับ
แห่งโทมนัส เมื่อชวนจิตเสพอารมณ์แล้ว แม้ตทารมณ์ก็ปฏิเสธไว้ในคัมภีร์
ปัฏฐานนั้น เหมือนกัน.
ตอบว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ที่
สหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมเกิดขึ้น.
ถามว่า จิตอะไร เป็นอาวัชชนะของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้น.
ตอบว่า อาวัชชนกิจของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้นไม่มีเหมือนความ
ไม่มีแห่งอาวัชชนะของภวังค์ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะ
ความที่ตนน้อมไปในอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์ตนเคยเสพ และเพราะความ
ที่ตนเองเสพอารมณ์อยู่เสมอ.
ถามว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุนี้ ย่อมเกิดอย่างไร ?
ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นอนันตรปัจจัยแก่นิโรธ
(คือดับจิตและเจตสิก) 1 จิตที่ประกอบด้วยผลสมาบัติ ของบุคคลผู้ออก

จากนิโรธ 1 อริยมรรคจิต 1 ผลจิตที่เป็นลำดับแห่งมรรค 1 ไม่มี
อาวัชชนะย่อมเกิดได้ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์)
ไม่มีอยู่ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยการน้อมไปด้วยความ
เคยเสพและด้วยความที่เสพอยู่เสมอ ฉันนั้น.
จริงอยู่ จิตเว้นจากอาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์) ย่อมเกิดขึ้น
ได้ แต่จิตนั้นเว้นจากอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า เป็นอารมณ์ของจิตนี้.
ตอบว่า ได้แก่ ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในปริตธรรมมีรูปเป็นต้น
จริงอยู่ ในปริตธรรมมีรูปเป็นต้นนั้น อารมณ์ใดมาสู่คลองในสมัยนั้นนั่นแหละ
พึงทราบว่า จิตนี้เกิดขึ้นปรารภอารมณ์นั้น.
บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านจึงกล่าวนัย
ปกิณกะไว้ว่า
สุตฺตํ โทวาริโก จ คามิลโก อมฺโพ โกลิยเกน จ
ชจฺจนฺโธ ปีฐสปฺปี จ วิสยคาโห จ อุปนิสฺสยมตฺถโส

เรื่องใยแมลงมุม 1 เรื่องนายทวาร 1
เรื่องเด็กชาวบ้าน 1 เรื่องมะม่วงกับเจ้าของ
โรงหีบอ้อย 1 เรื่องชายบอดกับคนเปลี้ย 1
เรื่องการรับอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็น
ประโยชน์ 1.

จิตเปรียบด้วยแมลงมุมชักใยเป็นต้น


บรรดาปกิณกนัยมีเรื่องแมลงมุมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัย
ในคำว่า สุตฺตํ (ใยแมลงมุม) ต่อไป.