เมนู

แต่ละทวาร แบ่งจิตทวารละ 8 ดวง จึงรวมเป็นจิต 40 ดวงถ้วน. แต่เมื่อ
ถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้จิตในจักขุทวาร 8 ดวง อีก 4 ดวง คือ โสต-
วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ สละกายวิญญาณ จึงรวมเป็นจิต 12
ดวง เมื่อเจตนาดวงเดียวประกอบกรรมแล้วย่อมให้วิบากจิต 12 ดวง เกิดขึ้น
ได้ด้วยประการฉะนี้ กถาว่าด้วยการเปรียบด้วยผลมะม่วง และนิยาม 5 เป็นไป
ตามปกตินั่นแล. แม้ในปฏิสนธิที่สัตว์ถือเอาด้วยวิบากเช่นเดียวกับทุเหตุกจิต
ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในทุเหตุกปฏิสนธินี้ ว่าโดยการเปรียบกับคน
หีบอ้อย ก็ได้คนหีบอ้อย 7 คน ในการอุปมานั้น พึงทราบการประกอบโดย
ทำนองแห่งนัยที่กล่าวกระทำคนรับจ้างหีบอ้อย 7 คนนั้น ตระเตรียมเครื่อง
หีบอ้อยแล้วทำเจ้าของอ้อยให้เป็นคนที่ 8 นั่นแหละ ข้าพเจ้ากล่าววาระที่ว่า
ทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้

ว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ


บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ อธิบายว่า เมื่อกรรมอันกุศลจิต
ที่เป็นทุเหตุกะ 4 ดวงทำแล้ว ปฏิสนธิของสัตว์ผู้ถือเอาด้วยจิตที่เป็นอเหตุก-
มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขาเป็นกุศลวิบาก ไม่ควรกล่าวว่าเป็นเช่น
เดียวกับกรรมที่ให้ปฏิสนธิ เพราะกรรมเป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ 2)
ปฏิสนธิเป็นอเหตุกะ (จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ). เมื่อบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วย
อเหตุกจิตนั้นถึงความเจริญขึ้นแล้ว เมื่ออิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองประสาท
ในจักขุทวารแล้ว ก็พึงทราบโมฆวาระ 3 วาระ โดยนัยก่อนนั่นแหละ แต่เมื่อ
กุศลจิตที่เป็นทุเหตุกะดวงใดดวงหนึ่งเป็นชวนะสิ้นสุดลง อเหตุกะจิตก็ตั้งอยู่ใน
ความเป็นตทารัมมณะ อเหตุกจิตนั้นได้ชื่อ 2 อย่างคือ มูลภวังค์ และตทา-
รัมมณะ ในอเหตุกจิตนี้ จิต 4 ดวง คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ