เมนู

ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แล้วกล่าวว่า การบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลของพระ-
สัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพมีกำลังมาก เพราะฉะนั้น พระสัพพัญญู-
โพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมถือปฏิสนธิด้วยอสังขาริกจิต อันเป็นติเหตุกะ สหรคต
ด้วยกามาวจรกุศลวิบากมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้น.

อธิบายทวารวิบากมาติกากถา


บัดนี้ ควรจะตั้งมาติกาในกถาทวารวิบาก ต่อไป.
พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวไว้ก่อนว่า กุศลเจตนา
ดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต 16 ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิด
วิบากจิต 12 ดวงบ้าง เป็นอเหตุกจิต 8 บ้าง ดังนี้.
ก็พระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในวิหารโมรวาปีกล่าวว่า กุศลเจตนาหนึ่ง
ดวงย่อมเกิดวิบากจิต 12 ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดวิบาก-
จิต 10 ดวงบ้าง อเหตุกจิต 8 บ้าง ดังนี้.
แต่พระมหาธัมมรักขิตเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า กุศล-
เจตนาดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต 10 ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละ เป็น
อเหตุกจิต 8 ดังนี้.
ในฐานะนี้ พระเถระเหล่านั้นถือเอาเรื่องชื่อว่า สาเกตกปัญหา.
ได้ยินว่า พวกอุบาสกผู้อยู่ในเมืองสาเกต นั่งในศาลาสนทนากันถึง
ปัญหาว่า ในเจตนากรรมดวงเดียวที่ประกอบแล้ว จะมีปฏิสนธิอย่างเดียว
หรือหลายอย่าง ดังนี้ ไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงพากันไปถามพระเถระผู้ทรงพระ-
อภิธรรม. พระเถระทั้งหลายให้พวกอุบาสกเหล่านั้นยอมรับด้วยคำว่า หน่อ
อันเดียวเท่านั้นย่อมออกจากเมล็ดมะม่วงอันเดียวฉันใด เจตนาเดียวก็มีปฏิสนธิ

หนึ่งเท่านั้น ฉันนั้นดังนี้. ในวันต่อมาก็สนทนากันถึงปัญหาว่า ก็เจตนา
ต่าง ๆ ที่กระทำกรรมแล้วย่อมมีปฏิสนธิต่าง ๆ หรือมีปฏิสนธิเดียว ดังนี้ เมื่อ
ไม่อาจวินิจฉัยได้จึงพากันไปถามพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายยังอุบาสก
เหล่านั้นให้ยอมรับด้วยคำว่า เมื่อเมล็ดมะม่วงมากที่เขาเพาะไว้ หน่อเป็นอันมาก
ก็ย่อมงอกขึ้น ฉันใด เจตนามากก็มีปฏิสนธิมากฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องชื่อว่าการแสดงถึงสิ่งที่มีมาก
เป็นประมาณ เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มีโลภะมากก็ดี มีโทสะมากก็ดี มีโมหะ
มากก็ดี มีอโลภะอโทสะอโมหะมากก็ดี ถามว่า ธรรมอะไรย่อมกำหนดสภาวะ
นั้นของสัตว์เหล่านั้นที่มีมากได้. ตอบว่า บุรพเหตุย่อมกำหนด ความต่างกัน
ย่อมมีในขณะแห่งการประกอบกรรมนั่นแหละ ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ ในขณะ
การประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะมีกำลังแรง อโลภะมีกำลังอ่อน อโทสะ
และอโมหะมีกำลังแรง โทสะและโมหะมีกำลังอ่อน อโลภะอ่อนของบุคคลนั้น
ไม่อาจเพื่อครอบงำโลภะได้ แต่ว่าอโทสะและอโมหะมีกำลังแรง ย่อมอาจเพื่อ
ครอบงำโทสะและโมหะได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิ
อันกรรมนั้นให้แล้วย่อมเป็นคนมักได้ มีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ แต่มี
ปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดังนี้.
อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะและโทสะมีกำลัง
แรง อโลภและอโทสะมีกำลังอ่อน และมีอโมหะแรงมีโมหะอ่อน บุคคลนั้น
เป็นผู้มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย แต่เป็นคนมี
ปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดุจพระทัตตาภยเถระ.
อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคล โลภะอโทสะโมหะมีกำลัง
แรง นอกนี้ (อโลภะโทสะและอโมหะ) มีกำลังอ่อนบุคคลนั้นเป็นผู้มักโลภโดยนัย
ก่อนนั่นแหละด้วย เป็นคนเขลาด้วย แต่เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ.

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะ โทสะ และโมหะ
แม้ทั้ง 3 มีกำลังแรง อโลภะเป็นต้นมีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้มักได้ตามนัย
ก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย ผู้ลุ่มหลงด้วย.
อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ โมหะ
มีกำลังแรง นอกนี้ (คือโลภะ อโทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคลนั้น
มีกิเลสน้อยโดยนัยก่อนนั่นแหละ เขาเห็นแม้อารมณ์อันเป็นทิพย์ก็ไม่หวั่นไหว
แต่เป็นผู้มักประทุษร้ายและมีปัญญาทราม ดังนี้.
อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ อโทสะ และโมหะ
มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ โทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคล
นั้นเป็นคนไม่มักได้ เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ แต่เป็นคนโง่เขลา.
อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ และ
อโมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ อโทสะ และโมหะ ) มีกำลังอ่อน
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย มีปัญญาด้วย แต่เป็นคนมัก
ประทุษร้าย มักโกรธ.
อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใดมีอโลภะเป็นต้น แม้ทั้ง 3
มีกำลังแรง มีโลภะเป็นต้นอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มักประทุษร้าย
และมีปัญญา เหมือนพระมหาสังฆรักขิตเถระ ดังนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องการยกย่องเหตุ. จริงอยู่
กรรมที่ประกอบด้วยเหตุ 3 ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง
อเหตุกะบ้าง. กรรมอันประกอบด้วยเหตุ 2 ย่อมไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ ให้
แต่วิบากนอกนี้ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ 3 ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกะบ้าง
ทุเหตุกะบ้าง ไม่มีอเหตุกะ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ 2 ปฏิสนธิย่อมเป็น

ทุเหตุกะบ้าง ย่อมเป็นอเหตุกะบ้าง ไม่เป็นติเหตุกะ กุศลกรรมที่เป็นอสังขาริก
ย่อมให้วิบากเป็นอสังขาริกบ้าง เป็นสสังขาริกบ้าง. กุศลที่เป็นสสังขาริกย่อม
ให้วิบากเป็นสสังขาริกบ้าง อสังขาริกบ้าง. เวทนาพึงเปลี่ยนไปตามอารมณ์
ตทารัมมณะพึงกำหนดด้วยชวนะ.

ว่าด้วยวิบากจิต 16 ดวง นัยของพระจูฬนาคเถระ


บัดนี้ พึงทราบเห็นเกิดวิบาก 16 ดวงเป็นต้นในวาทะของพระเถระนั้น ๆ
ก็สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตดวงที่หนึ่งเช่นเดียวกับกามาวจรกุศลดวงที่
หนึ่ง ออกจากการอยู่ในครรภ์แล้ว เข้าถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อเริ่มตั้งอยู่ใน
สังวรและอสังวร เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองจักษุทวารแล้ว มโนธาตุที่เป็นกิริยา
ไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป ขอบเขตอารมณ์ที่ก้าวล่วงก็ไม่มี เพราะเหตุไร จึง
เป็นเช่นนั้น เพราะอารมณ์มีกำลังอ่อน นี้เป็นโมฆวาระหนึ่งก่อน.
ก็ถ้าว่า จิตนั้นหมุนไปสู่ภวังค์ เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้
เปลี่ยนไป จิตนั้นไม่ทันถึงโวฏฐัพพนะเลย จิตนั้นจักกลับมาตั้งอยู่ในจักขุวิญญาณ
หรือสัมปฏิจฉันนะ หรือสันติรณะดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่มีได้. แต่ว่าจิตหนึ่ง
ดวงบ้าง สองดวงบ้าง ตั้งอยู่ในโวฏฐัพพนะเป็นไป จากนั้นก็ดำรงอยู่ในที่ชวนะ
ได้อาเสวนะแล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก แม้จิตนี้ก็ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ
ความที่อารมณ์ทุรพล แต่วาระนี้ย่อมได้ในเวลาที่กล่าวถ้อยคำมีอาทิว่า รูปนี้
เหมือนข้าพเจ้าเห็นแล้ว เสียงนี้เหมือนข้าพเจ้าฟังแล้ว ดังนี้ โมฆวาระแม้นี้
เป็นที่สอง.
เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยาของบุคคลอื่นอีก ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปแล้ว
วิถีจิตทั้งหลายย่อมเกิด ชวนะย่อมแล่นไป ในเวลาสุดแห่งชวนะก็เป็นวาระของ
ตทารัมมณะ แต่ตทารัมมณะนั้นยังไม่เกิดเลย ก็หยั่งลงสู่ภวังค์ไป ในข้อนั้นมี
อุปมาดังนี้