เมนู

ก็วัตถุทวารและอารมณ์ของจิตทั้ง 5 เหล่านี้ ย่อมเป็นของเกี่ยวข้องกัน
โดยเฉพาะ ชื่อว่า การก้าวก่ายกันด้วยวัตถุเป็นต้น ในที่นี้ย่อมไม่มี เพราะ
จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก กระทำจักขุปสาทให้เป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด)
แล้วยังทัสสนกิจ (กิจคือการเห็น) ให้สำเร็จในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน 4 ใน
อิฏฐารมณ์ และในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในจักขุทวารสำเร็จผล. โสต-
วิญญาณเป็นต้น ทำโสตปสาทเป็นต้นให้เป็นวัตถุแล้วให้สำเร็จสวนกิจฆายนกิจ
สายนกิจ และผุสนกิจในอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่เป็นอิฏฐารมณ์และอิฏฐมัช-
ฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในโสตทวารเป็นต้นสำเร็จผล. ก็ในอารมณ์เหล่านั้น เสียงมี
สมุฏฐาน 2 เท่านั้น.

อธิบายมโนธาตุกุศลวิบาก


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมโนธาตุต่อไป.
ธาตุ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่า มโนธาตุ ด้วยอรรถว่า สูญจาก
สภาวะและมิใช่สัตว์. มโนธาตุนั้นมีการรู้รูปารมณ์เป็นต้น ในลำดับแห่งจักขุ-
วิญญาณเป็นต้นเป็นลักษณะ (จกฺขุวิญฺญาณาทีนํ อนนฺตรรูปาทิวิชานน-
ลกฺขณา)
มีการรับอารมณ์ มีรูปเป็นต้นเป็นรส (รูปาทีนํ สมฺปฏิจฺฉนฺนรสา)
มีภาวะเช่นการรับอารมณ์อย่างนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏฐานา)
มีการไม่ปราศจากจักขุวิญญาณเป็นปทัฏฐาน (จกฺขุวิญฺญาณา อปคมนปทฏฺ-
ฐานา)
ธัมมุทเทสในมโนธาตุนี้มี 12 บท ว่าด้วยการถือเอาบทที่ยังมิได้ถือเอา
ก็ได้ 9 บท. ใน 9 บทนั้น 7 บทจำแนกไม่ได้ 2 บทจำแนกได้. เยวาปนก-
ธรรมมี 2 คือ อธิโมกข์ และมนสิการ.
นิทเทสแห่งวิตก พระองค์ทรงกำหนดไว้ถึงอภินิโรปนะ (คือการยกจิต
ขึ้นสู่อารมณ์) ก็เพราะจิต (อัพยากตวิบาก) ดวงนี้เป็นกุศลก็มิใช่ เป็นอกุศล

ก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า เป็นสัมมาสังกัปปะหรือเป็นมิจฉาสังกัปปะ
องค์ฌานแม้ได้อยู่ในสังคหวารก็ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ 5 เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่ยกขึ้นแสดง ส่วนองค์มรรคย่อมไม่ได้โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึง
ไม่ทรงยกขึ้นแสดงสุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ จิตนี้เป็นจิตเนื่องด้วย
วัตถุ คือ อาศัยเกิดที่หทยวัตถุเท่านั้น. ทวารและอารมณ์เป็นสภาพไม่เนื่องกัน
บรรดาทวารและอารมณ์ที่ไม่เนื่องกันเหล่านั้น ทวารและอารมณ์จะก้าวก่ายกัน
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มีฐานเดียวกัน เพราะฐานนี้มีสัมปฏิจฉันนกิจ (กิจคือมี
หน้าที่รับอารมณ์) เหมือนกัน จริงอยู่ จิตดวงนี้ (อัพยากตวิบาก) เป็น
สัมปฏิจฉันนจิต (เป็นจิตรับอารมณ์) ในอารมณ์ 5 ในปัญจทวาร สำเร็จผล
เมื่อวิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากดับแล้ว สันปฏิจฉันน-
จิต (อัพยากตวิบาก) นั้นก็รับอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละมีรูปารมณ์เป็นต้นที่ถึง
ฐานในลำดับทีเดียว.

อธิบายมโนวิญญาณธาตุ


พึงทราบวินิจฉัยในนิสเทสแห่งสันติรณมโนวิญญาณธาตุ. บทว่า ปีติ
เป็นบทอธิกะ (ยิ่ง) ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่ง แม้เวทนาก็เป็นโสมนัสส-
เวทนา เพราะมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ย่อมเป็นไปในอิฏฐารมณ์อย่างเดียว
ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่สอง ย่อมเป็นไปในอิฏฐมัชฌัตตัตตารมณ์ เพราะ
ฉะนั้น ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่สองนี้ จึงเป็นอุเบกขาเวทนา บททั้งหลาย
เป็นเช่นเดียวกันในนิทเทสแห่งมโนธาตุนั่นแหละ ในมโนวิญญาณธาตุ แม้ทั้ง
2 ดวง พระองค์มิได้ทรงยกองค์ฌานขึ้นแสดง เพราะความที่มโนวิญญาณธาตุ
2 ดวงนั้นเป็นธรรมชาติ ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ 5 ทีเดียว