เมนู

[986] สอุตตรธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และ
รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม.
อนุตตรธรรม เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม.
[987] สรณธรรม เป็นไฉน ?
อกุศลจิตตุปบาท 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม.
อรณธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.
ธรรมสังคณี จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุโดยนัยมีอาทิว่า ตโย กุสลเหตู
ดังนี้แล้ว ทรงประสงค์จะแสดงเหตุเหล่านั้นนั่นแหละโดยฐานะแห่งการเกิดขึ้น
อีก จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเลสุ อุปฺปชฺชนิติ (บังเกิด
ในกุศลทั้ง 4 ภูมิ) ดังนี้. นัยแห่งเทศนาแม้ในโคจฉกะที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ
โดยอุบายนี้.

ในนิทเทสแห่งอาสวทุกะ (บาลีข้อ 917) ว่า ยตฺถ เทฺว ตโย
อาสวา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ
(อาสวะ 2-3 อย่าง บังเกิดร่วมกันใน
จิตตุปบาทใด) นี้ บัณฑิตพึงทราบ ความเกิดขึ้นแห่งอาสวะรวมกัน 3 อย่าง.
บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะย่อมเกิดรวมกันโดย 2 อย่าง คือ
เกิดขึ้นในทิฏฐิวิปปยุต 4 ดวงรวมกับอวิชชาสวะ เกิดขึ้นในทิฏฐิสัมปยุต 4 ดวง
พร้อมกับทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ ส่วนภวาสวะย่อมเกิดร่วมกันอย่างเดียว คือ
เกิดในทิฏฐิวิปปยุต 4 พร้อมกับอวิชชาสวะ.
อนึ่ง ในคำว่า อาสวะ 2-3 อย่าง บังเกิดร่วมกัน นี้ ฉันใด
แม้ในคำว่า สัญโญชน์ 2-3 บังเกิดรวมกันในจิตตุปบาทใด นี้ ก็ฉันนั้น คือ
การเกิดของสัญโญชน์ทั้งหลายรวมกันพึงมี 10 อย่าง.
บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น กามราคสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน 4 อย่าง
ปฏิฆะย่อมเกิดร่วมกัน 3 อย่าง มาฆะย่อมเกิดร่วมกัน 1 อย่าง วิจิกิจฉาและ
ภวราคะก็เกิดร่วมกันอย่างละ 1 อย่างเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร คือ กาม-
ราคสัญโญชน์ก่อน เกิดร่วมกัน 4 อย่างคือ เกิดร่วมกันกับมานสัญโญชน์และ
อวิชชาสัญโญชน์ 1 เกิดร่วมกันกับทิฏฐิสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ 1
เกิดร่วมกันกับสีลัพพตปรามาสและอวิชชาสัญโญชน์ 1 เกิดร่วมกันกับอวิชชา-
สัญโญชน์เพียงเท่านั้น 1.
ก็ปฏิฆสัญโญชน์เกิดร่วมกัน 3 อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกันกับอิสสา-
สัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ 1 เกิดร่วมกันกับมัจฉริยสัญโญชน์และอวิชชา
สัญโญชน์ 1 เกิดร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์เพียงเท่านั้น 1.

มานสัญโญชน์ก่อนร่วมเป็นอันเดียวกันกับภวราคสัญโญชน์และอวิชชา
สัญโญชน์. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จริงอยู่ วิจิกิจฉาสัญโญชน์
นั้นย่อมเกิดร่วมกันอย่างเดียว คือร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์. แม้ในภวราค-
สัญโญชน์ก็นัยนี้แหละ สัญโญชน์ 2-3 เกิดร่วมกันในกิเลสเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกทุกะ


พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในนีวรณโคจฉกะ (บาลีข้อ 935) ว่า ยตฺถ
เทฺว ตีณิ นีวรณานิ เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ
(นิวรณ์ 2-3 อย่างบังเกิด
ร่วมกันในจิตตุปบาทใด) ดังนี้ แม้ในพระดำรัสนั้น บัณฑิตก็พึงทราบความ
บังเกิดร่วมกันแห่งนิวรณ์ทั้งหลายมี 8 อย่าง.
จริงอยู่ ในบรรดานิวรณ์เหล่านั้น กามฉันทเกิดร่วมกัน 2 อย่าง
พยาบาทเกิดร่วมกัน 4 อย่าง อุทธัจจะเกิดร่วมกันอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เกิด
ร่วมกันอย่างเดียวเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ กามฉันทะก่อนย่อมเกิด
ร่วมกัน 2 อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขา-
ริกจิต 1 เกิดร่วมกันกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชา-
นิวรณ์ในสสังขาริกจิต 1. ก็คำใดที่ตรัสว่า นิวรณ์เกิดร่วมกัน 2-3 นั้น
คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวโดยการกำหนดไว้ในเบื้องต้นแล้ว เพราะฉะนั้น การบัง
เกิดร่วมกันแห่งนิวรณ์แม้ทั้ง 4 ก็ย่อมถูกต้องทีเดียว.
ส่วนพยาบาท บังเกิดร่วมกัน 4 อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุท-
ธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต 1 เกิดร่วมกับถีนนิวรณ์
มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิต 1 เกิดร่วม
กับอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต 1
เกิดร่วมกับถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชา-