เมนู

ธรรมวิปปยุตจากกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและสัปปยุตด้วย
ก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.
[969] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็น
ไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสก็ไม่ได้.
กิเลสโคจฉกะ จบ

ปิฏฐิทุกะ


[970] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดา-
ปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณก็มี.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4
กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน
โสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ.
[971] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน
มรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันมรรค
เบื้องสูง 3 ประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณก็มี.
ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณ.
[972] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
สัมปยุตตเหตุอันโอดาปัตติมรรคประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมันสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตต-
เหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติ-
มรรคไม่ประหาณก็มี.

ธรรมไม่มีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็น
ไฉน ?
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล
ในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ.
[973] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้
เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันมรรค
เบื้องสูง 3 ประหาณก็มี.
ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 จะประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจกิจฉา
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตใน
ภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง 3 จะประหาณ.
[974] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 11 ดวง
ฝ่ายอกุศลวิบาก 2 ดวง ฝ่ายกิริยา 11 ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่าย

วิบาก และกิริยา, โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นวิตกที่บังเกิด
ในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก.
ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน ?
ปัญจวิญญาณทั้ง 2, ฌาน 2 และ 3 ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่าย
วิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน 2
และ 3 ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิตก, รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.
[975] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 11 ดวง
ฝ่ายอกุศลวิบาก 2 ดวง ฝ่ายกิริยา 11 ดวง, ฌาน 1 และ 2 ที่เป็นรูปาวจร
ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา, ฌาน 1-2 ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศล และ
ฝ่ายวิบาก, เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีวิจาร.
ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?
ปัญจวิญญาณทั้ง 2, ฌาน 3 และ 3 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่าย
วิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูปาวจรฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,
ฌาน 3 และ 3 ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิจาร, รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.
[976] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 5 ดวง ฝ่ายกิริยา 5 ดวง, ฌาน 2
และ 3 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 2 และ 3

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นปีติที่เกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ.
ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 8 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 11 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 7 ดวง
ฝ่ายกิริยา 6 ดวง, ฌาน 2 และ 2 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ
ฝ่ายกิริยา อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 2 และ 2
ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.
[977] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 5 ดวง ฝ่ายกิริยา 5 ดวง, ฌาน 2
และ 3 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 2 และ 3
ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.
ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง ฝ่าย
อกุศล 8 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 11 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 7 ดวง
ฝ่ายกิริยา 6 ดวง, ฌาน 2 และ 2 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก,
และฝ่ายกริยา, อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา ฌาน 2 และ 2
ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก ปีติ, รูปและนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

[978] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 6 ดวง ฝ่ายกิริยา 5 ดวง, ฌาน 3
และ 4 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 3 และ 4
ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาท
เหล่านั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.
ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 8 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 10 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 7 ดวง
ฝ่ายกิริยา 6 ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,
อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศล
และฝ่ายวิบาก สุขเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.
[979] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง ฝ่าย
อกุศล 6 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 10 ดวง ฝ่ายกุศลวิบาก 6 ดวง ฝ่าย
กิริยา 6 ดวง, รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป 4
ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่าย
วิบาก, เว้นอุเบกขาเวทนา ที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.
ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 6 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 6 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 1 ดวง

ฝ่ายกิริยา 5 ดวง, ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบากและฝ่าย
กิริยา, ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศลและฝ่ายวิบาก, อุเบกขาเวทนา,
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.
[980] กามาวจรธรรม เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด กามาวจรกิริยา
อัพยากฤต และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรธรรม.
ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?
รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น
กามาวจร.
[981] รูปาวจรธรรม เป็นไฉน ?
ฌาน และ 5 ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรธรรม.
ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
เป็นรูปาวจร.
[982] อรูปาวจรธรรม เป็นไฉน ?
อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
อรูปาวจรธรรม.
ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจร รูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
เป็นอรูปาวจร.

[983] ปริยปันนธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และ
รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปริยาปันนธรรม.
อปริยาปันนธรรม เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า อปริยาปันนธรรม.
[984] นิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยยานิกธรรม.
อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป
และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม.
[985] นิตยธรรม เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทม-
นัสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ที่เป็นนิยตธรรมก็มี ที่เป็นอนิยตธรรม
ก็มี
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยตธรรม.
อนิยตธรรม เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาท
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบาก
ในภูมิ 4 กิริยาอัพกฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
อนิยตธรรม.

[986] สอุตตรธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และ
รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม.
อนุตตรธรรม เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม.
[987] สรณธรรม เป็นไฉน ?
อกุศลจิตตุปบาท 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม.
อรณธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.
ธรรมสังคณี จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุโดยนัยมีอาทิว่า ตโย กุสลเหตู
ดังนี้แล้ว ทรงประสงค์จะแสดงเหตุเหล่านั้นนั่นแหละโดยฐานะแห่งการเกิดขึ้น
อีก จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเลสุ อุปฺปชฺชนิติ (บังเกิด
ในกุศลทั้ง 4 ภูมิ) ดังนี้. นัยแห่งเทศนาแม้ในโคจฉกะที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ
โดยอุบายนี้.