เมนู

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก


สหรคตด้วยอุเบกขา


[399] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะ
กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[400] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.
[401] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่
สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.
[402] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[403] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.
[404] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิตมีในสมัยนั้น.
[405] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตในสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.
[406] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
วิจารมีในสมัยนั้น.
[407] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.
[408] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีใน
สมัยนั้น.
[409] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน-
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.
[410] อุเปกขินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น.
[411] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่
สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ
ชีวิตของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.
[412] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[413] ก็ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 3
ผัสสะ 1 ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ 1 ธรรมายตนะ 1 ธรรมธาตุ 1 มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมท่องอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[414 ] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา จบ

อธิบายอัพยากตธรรม


บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงจำแนกบทอัพยากตธรรม จึงเริ่ม
คำว่า ธรรมอันเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ? เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น อัพยากตะมี 4 อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป
พระนิพพาน บรรดาอัพยากตะเหล่านั้น พระองค์ตรัสประสงค์เอาอัพยากตวิบาก
แม้ในอัพยากตวิบาก ก็ทรงประสงค์เอากุศลวิบาก แม้ในกุศลวิบากนั้น ก็ทรง
ประสงค์เอากามาวจรวิบาก แม้ในกามาวจรวิบาก ก็ทรงประสงค์เอาอเหตุกะ
แม้ในอเหตุกะ ก็ทรงประสงค์เอาปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5) แม้ในปัญจวิญ-
ญาณนั้นก็ทรงประสงค์เอาจักขุวิญญาณตามลำดับในทวาร แม้จักขุวิญญาณนั้น
เล่า ทรงประสงค์จะแสดงความเกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมปัจจัยที่ไม่ทั่วไปเท่านั้น
เว้นสาธารณปัจจัยทางทวารและอารมณ์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสว่า เพราะ
กามาวจรกุศลกรรมอันตนทำแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตตฺตา (อันได้ทำไว้แล้ว) ได้แก่
เหตุที่ทำไว้แล้ว. บทว่า อุปฺปจิตตฺตา (ได้สั่งสมไว้แล้ว) ได้แก่ ทำให้เจริญ
ขึ้นแล้ว. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ความว่า ที่ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เพราะอรรถว่า
เป็นวิญญาณแห่งจักษุที่มีเหตุสำเร็จแล้ว หรือว่าวิญญาณอันเป็นไปทางจักษุ
หรือว่าเป็นวิญญาณอันอาศัยในจักษุ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นข้างหน้าก็นัย
นี้แหละ.
ในวิญญาณ 5 เหล่านั้น จักขุวิญญาณมีการรู้รูปอาศัยจักขุประสาทเป็น
ลักษณะ (จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณํ) มีอารมณ์เพียงรูปเป็นรส