เมนู

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบาก
ในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะ จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุต
จากปรา มาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ
และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้.
ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ


[942] ธรรมมีเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน ?
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.
[943] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
[944] เจตสิกธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เจตสิกธรรม.
อเจตสิกธรรม เป็นไฉน ?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.
[945] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-
สัมปยุตธรรม.
จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน ?
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม
จิต จะกล่าวว่าจิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตสัมปยุตธรรมก็ไม่ได้.
[946] จิตตสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-
สังสัฏฐธรรม.
จิตตวิสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน ?
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม
จิต จะกล่าวว่าจิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้.
[947] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือ
รูปแม้อื่นใด ซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ
กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐานธรรม.
ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐาน.
[948] จิตตสหภูตธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสหภูธรรม.
ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น
จิตตสหภู.
[949] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น
จิตตนุปริวัตติ.
[950] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน ?
เวทนา สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐานธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน ?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐาน.
[951] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม.
ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน ?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสัง-
สัฏฐสมุฏฐานสหภู.
[952] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม.
ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน ?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ.
[953] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม.
พาหิรธรรม เป็นไฉน ?
รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม.
[954] อุปาทาธรรม เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทา-
ธรรม.

ธรรมไม่เป็นอุปาทา เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 มหา-
ภูตรูป 4 และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา.
[955] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 3 และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
อุปาทินกธรรม.
อนุปาทินนธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปที่กรรมมิได้
แต่งขึ้น มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.
มหันตรทุกะจบ

อุปาทานโคจฉกะ


[956] อุปาทานธรรม เป็นไฉน ?
อุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวา-
ทุปาทาน
กามุปาทานบังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง
ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน บังเกิดในจิต-
ตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทานธรรม.
ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือเว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4
กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่
ไม่เป็นอุปาทาน.