เมนู

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
ไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า
นี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะก็ไม่ได้.
อาสวโคจฉกะ จบ

สัญโญชนโคจฉกะ


[919] สัญโญชนธรรม เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 10 คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์
ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์
อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
กามราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง
ปฏิฆสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา 2
ดวง
มานสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจาก
ทิฏฐิ
ทิฏฐิสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 2 ดวง
วิจิกิจฉาสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
4 ดวง

ภวราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจาก
ทิฏฐิ 4 ดวง
อิสสาสัญโญชน์ และมัจฉริยสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง
อวิชชาสัญโญชน์ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัญโญชนธรรม.
ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ
4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นสัญโญชน์.
[920] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และ
รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า
นี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
[921] ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือเว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยา
อัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต
จากสัญโญชน์.

[922] ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
เป็นไฉน ?
สัญโญชน์เหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์.
ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3
กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 ละรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์
และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่
เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้.
[923] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็น
ไฉน ?
สัญโญชน์ 2-3 อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.
ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
สัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และ
สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์
ก็ไม่ได้.
[924] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์
เป็นไฉน ?

โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 กิริยา
อัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต
จากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์
แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้.
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

คันถโคจฉกะ


[925] คันถธรรม เป็นไฉน ?
คันถะ 4 คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาส-
กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
อภิชฌากายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง
พยาปาทกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา
2 ดวง
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บังเกิดใน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า คันถธรรม.