เมนู

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน ในเวลา
เห็นรูปในท้องของตนเป็นต้น เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เห็นรูป
ที่เหลือ เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
ทั้งสอง.
จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเว-
ลาที่ระลึกถึงขันธ์ในอนาคตของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก ในเวลาที่ระลึก
ถึงขันธ์อันเป็นอนาคตของคนอื่น หรือรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง.
เหตุที่อากิญจัญายตนนฌานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นอารมณ์
พึงกล่าวไม่ได้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

เหตุโคจฉกะ


[900] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3 อโลภกุศลเหตุ อโทส-
กุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง 4 ภูมิ อโมหกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง 4 ภูมิ
เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง
โทสะ บังเกิดขึ้นจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง
โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง
อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง 4 ภูมิ เว้น
อเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก

อโมหวิปากเหตุ บังเกิดในวิบากทั้ง 4 ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท
ฝ่ายกามาวจรวิบาก [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต 5 ดวง
อโลภกิริยเหตุ อโทสกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง 3 ภูมิ เว้นอเหตุก-
จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา
อโมหกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง 3 ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่าย
กามาวจรกิริยา [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต 4 ดวง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ.
ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?
เว้นเหตุทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยา
อัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ.
[901] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ, กุศลในภูมิ 4, วิบากในภูมิ 4 เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามา-
วจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจร-
กิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ.
ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญ-
ญาณทั้ง 2 มโนธาตุ 3 อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 5 รูป และนิพพาน สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีเหตุ.
[902] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ, กุศลในภูมิ 4, วิบากในภูมิ 4 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร-

วิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ.
ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน ?
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณ
ทั้ง 2 มโนธาตุ 3 อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 5 รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากเหตุ.
[903] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน ?
เหตุ 2-3 บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ.
ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4, อกุศล, วิบากในภูมิ 4 เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่าย
กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร-
กิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.
ธรรมไม่มีเหตุ จะกล่าวว่าธรรมเป็นเหตุและมีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมมี
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.
[904] ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?
เหตุ 2-3 บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ.
ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4, อกุศล, วิบากในภูมิ 4 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย
กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร

กิริยา เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.
ธรรมวิปปยุตจากเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.
[905] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4, อกุศล, วิบากในภูมิ 4 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย
กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร
กิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ.
ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?
ปัญจวิญญาณทั้ง 2 มโนธาตุ 3 อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 5 รูป
และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.
ธรรมเป็นเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรม
ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็ไม่ได้.
เหตุโคจฉกะ จบ

จูฬันตรทุกะ


[906] สัปปัจจยธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และ
รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัปปัจจยธรรม.