เมนู

เพราะตรัสถึงความที่อากิญจัญญายตนะเป็นเพียงนวัตตัพพารัมมณะโดยส่วนเดียว
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อากิญจัญญายตนะ มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ
และสามัญผลแม้ 4 ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอตีตารัมมณะ (คือไม่พึงกล่าวว่า
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ก็มี.
บัดนี้ อากิญจัญญายตนะนั้นแม้พระองค์จะตรัสไว้อย่างเดียวในอัชฌัต-
ตารัมมณติกะ แต่เพราะความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะ
(คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) จึงตรัสหมายถึงแม้ความเป็นอารมณ์อัน
เดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นในหนหลัง ฉะนั้น จึงแสดงความที่กุศลมีกามา-
วจรเป็นต้นเหล่านั้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะแม้ในอัชฌัตตารัมมณติกะนี้. จริง
อยู่ ธรรมอะไรเล่าจะเป็นข้อขัดขวางในความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น ที่จะเป็น
อารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นเป็นนวัตตัพพารรัมมณะ เมื่อตรัสถึง
อากิญจัญญายตนะนั้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบได้ว่ากุศลมีกามาพจร
นั้นเป็นอันตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ฉะนี้แล. คำที่เหลือในที่นี้โดยพระบาลีใน
อัชฌัตตารัมมณติกะมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ว่าด้วยการจำแนกอารมณ์จิตตุปบาท


ก็ว่าโดยการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ จิตตุปบาทเหล่านี้ คือ
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น 6 ด้วยสามารถแห่งกุศล
วิบากกิริยาก่อน พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) เพราะ
หน่วงเหนี่ยวสมาบัติเบื้องต่ำที่เนื่องด้วยสันดานของตนเป็นไป.
ก็ในบรรดาจิตตุปบาท 6 เหล่านี้ อากาสานัญจายตนะที่เป็นกิริยาย่อม
เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกิริยาเท่านั้น หาเป็นอารมณ์ของวิญ-

ญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลและวิบากนอกนี้ไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลผู้
พรั่งพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนกิริยา ไม่มีวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลหรือ
วิบาก. ก็กุศลย่อมเป็นอารมณ์แก่กุศล วิบาก และกิริยาทั้ง 3 ได้ เพราะ
เหตุไร เพราะความที่บุคคลผู้ยังอากาสานัญจายตนกุศลให้เกิดแล้วตั้งอยู่ให้
วิญญาณัญจายตนะแม้ทั้ง 3 อย่างให้เกิดขึ้นสูงกว่าการเกิดของอากาสานัญจายตนะ
กุศลนั้น. ก็วิบากย่อมไม่เป็นอารมณ์ของจิตตุปบาทอะไร ๆ เพราะเหตุไร ?
เพราะจิต (ในสมาบัติ) ออกจากวิบากแล้วไม่มีอภินิหาร. แม้ในการทำให้เป็น
อารมณ์ของเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็นัยนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบความที่
จิตตุปบาทแม้ทั้งหมดมีฌานที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นรูปาวจรเป็นต้น เป็นพหิทธารัม-
มณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เพราะปรารภปฐวีกสิณเป็นต้นที่เป็น
ภายนอกเป็นไปโดยความเป็นภายนอกจากธรรมที่เป็นภายในของตน.
พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สพฺเพว กามาวจรา กุสลากุสลา-
พฺยากตา ธมฺมา รูปาวจรจตุตฺถฌานํ
(กุศลธรรม อกุศลธรรมอัพยากต-
ธรรมที่เป็นกามพจรทั้งหมด. . .รูปาวจรจตุตถฌาน) นี้ ต่อไป
ว่าโดยกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ 4 ดวง เป็นธรรมมี
อารมณ์ภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) แก่ผู้พิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้นของตน
เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ในขณะพิจารณาขันธ์เป็นต้นของ
คนเหล่าอื่น และในขณะพิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นธรรมมีอารมณ์
ทั้งภายในและภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา
ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งของตนและบุคคลอื่นทั้งสองนั้น. แม้ในญาณวิปปยุตก็
นัยนี้แหละ. การพิจารณาพระนิพพานของกุศลที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้น
อย่างเดียวไม่มี.

ว่าโดยอกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง เป็นธรรมมี
อารมณ์ภายใน เวลายินดี เพลิดเพลิน และยึดถือความเห็นผิด ซึ่งธรรมมีขันธ์
เป็นต้นของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เป็นไปอย่างนั้นแหละใน
ขันธ์เป็นต้น และในรูปกสิณที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นต้นของบุคคลอื่น เป็น
ธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสองนั้น.
แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. การยึดถือความ
เห็นผิดย่อมไม่มีแก่จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตเหล่านั้นอย่างเดียว จิตตุปบาท
ที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ 2 ดวง เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัส
ในขันธ์เป็นต้นของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสใน
ขันธ์เป็นต้น และในรูปบัญญัติที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ของบุคคลอื่น เป็นธรรม
มีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง แม้จิตตุปบาท
ที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ ก็พึงทราบว่ามีความเป็นอารมณ์ภายใน
เป็นต้นในเวลาเป็นไปด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความหวั่นไหวในธรรม
ทั้งหลายมีประการตามที่กล่าวแล้ว.
จิตตุปบาท 13 ดวงเหล่านี้ คือ ทวิปัญจวิญญาณ 10 มโนธาตุ 3
ในเวลาที่ปรารภรูปเป็นต้นของตนเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลา
ปรารภรูปเป็นต้นของบุคคลอื่นเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เป็นธรรม
มีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสองนั้น.
อเหตุกวิบากมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็นธรรมมีอารมณ์
ภายใน ในเวลาเป็นไปปรารภธรรมมีรูปเป็นต้น 5 อย่างของตนด้วยอำนาจสัน-
ติรณะและตทารัมมณะในปัญจทวาร และในเวลาเป็นไปปรารภกามาวจรธรรม
แม้เหล่าอื่นที่เป็นภายในด้วยอำนาจตทารัมมณะในมโนทวารนั่นแหละ, เมื่อเป็น

ไปในธรรมทั้งหลายเหล่าอื่นก็เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก, เป็นธรรมมีอารมณ์
ทั้งภายในและภายนอกด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสอง. ในวิบากอเหตุกมโนวิญ-
ญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง 2 ดวง ก็นัยนี้แหละ. ก็มโนวิญญาณ-
ธาตุเหล่านี้ย่อมเป็นไปในกรรมเป็นต้นอันต่างด้วยอัชฌัตตธรรมเป็นต้น แม้ด้วย
อำนาจแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ในสุคติภูมิและทุคติภูมิเท่านั้น.
มหาวิบากจิต 8 ดวง มีคติเหมือนวิบากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่
สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง 2 เหล่านั้นนั่นแหละ แต่มหาวิบากจิตเหล่านี้ไม่เป็น
ไปด้วยอำนาจแห่งสันติรณะอย่างเดียว ย่อมเป็นไปในสุคติภูมิด้วยอำนาจปฏิสนธิ
ภวังค์และจุติของสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น. อเหตุกกิริยาที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็น
ธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาปรารภรูปเป็นต้นของตนด้วยอำนาจการกระทำ
อาการร่าเริงในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์ในภายนอกเป็นไปในรูปเป็นต้น
ของบุคคลอื่น, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายในเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปบาทแก่พระ-
ตถาคตเจ้าผู้พิจารณากิริยาที่พระองค์ทรงทำแล้วในเวลาเป็นโชติปาลมาณพ ท้าว
มฆเทวราช และกัณหดาบสเป็นต้นในมโนทวาร, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก
ในเวลาปรารภการกระทำกิริยาของพระนางมัลลิกาเทวี สันตติมหาอำมาตย์และ
นายสุมนาการเป็นต้นเป็นไป, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วย
สามารถอารมณ์ทั้งสอง.
กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นภายในเป็นต้น ในเวลาเป็นไปในปัญจทวารด้วยอำนาจโวฏฐัพพะ
และในมโนทวารด้วยอำนาจอาวัชชนะ มหากิริยาจิตตุปบาท 8 ดวง มีคติ
เหมือนกุศลจิตนั่นแหละ. มหากิริยาจิตตุปบาทเหล่านั้น ย่อมีเกิดขึ้นแก่พระ
ขีณาสพอย่างเดียว กุศลจิตย่อมเกิดแก่พระเสกขะและปุถุชน เพราะฉะนั้น

ในข้อนี้จึงมีการทำที่ต่างกัน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในรูปาวจรจตุตถฌาน
มีประการตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌานทั้ง 5 มีจตุตถฌานที่เป็นบาทในธรรม
ทั้งปวงเป็นต้น ย่อมได้โอกาสในติกะนี้.
จริงอยู่ ฌานทั้ง 5 ตามที่กล่าวนี้เป็นพหิทธารัมมณะ คือเป็นธรรม
มีอารมณ์เป็นภายนอกเพราะ มีกสิณบัญญัติ และนิมิตเป็นอารมณ์. จตุตถฌาน
ที่เป็นไปในอิทธิวิธะเป็นอัชฌัตตารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน
เพราะกระทำกายและจิตของตนให้เป็นอารมณ์ในเวลาที่ยังจิตให้เปลี่ยนไปตาม
อำนาจกาย หรือยังกายเปลี่ยนไปตามอำนาจจิต และในเวลาที่เนรมิตรูปเป็น
เพศกุมารเป็นต้นของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ใน
เวลาที่แสดงรูปเป็นรูปช้างและม้าเป็นต้นในภายนอก มีอารมณ์เป็นทั้งภายใน
และภายนอก
(อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ในเวลาที่เป็นไปในภายในตามกาล
อันควรและในเวลาที่เป็นไปในภายนอกตามกาลอันควร.
จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยโสต มีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตา-
รัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงในท้องของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธา-
รัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงคนอื่น มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก
(อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ทั้งสอง.
จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นภายนอก
อย่างเดียว
เพราะมีจิตคนอื่นเป็นอารมณ์ ก็การใช้เจโตปริยญาณนั้นรู้จิตของ
ตนไม่มี.
จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณเป็นธรรม มีอารมณ์เป็น
ภายใน
ในเวลาที่ตามระลึกถึงขันธ์ของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก
เพราะตามระลึกถึงขันธ์ของคนอื่น รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และบัญญัติทั้ง 3
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถอารมณ์ทั้งสอง.

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน ในเวลา
เห็นรูปในท้องของตนเป็นต้น เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เห็นรูป
ที่เหลือ เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
ทั้งสอง.
จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเว-
ลาที่ระลึกถึงขันธ์ในอนาคตของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก ในเวลาที่ระลึก
ถึงขันธ์อันเป็นอนาคตของคนอื่น หรือรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง.
เหตุที่อากิญจัญายตนนฌานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นอารมณ์
พึงกล่าวไม่ได้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

เหตุโคจฉกะ


[900] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?
กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3 อโลภกุศลเหตุ อโทส-
กุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง 4 ภูมิ อโมหกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง 4 ภูมิ
เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง
โทสะ บังเกิดขึ้นจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง
โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง
อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง 4 ภูมิ เว้น
อเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก