เมนู

เพราะตรัสถึงความที่อากิญจัญญายตนะเป็นเพียงนวัตตัพพารัมมณะโดยส่วนเดียว
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อากิญจัญญายตนะ มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ
และสามัญผลแม้ 4 ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอตีตารัมมณะ (คือไม่พึงกล่าวว่า
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ก็มี.
บัดนี้ อากิญจัญญายตนะนั้นแม้พระองค์จะตรัสไว้อย่างเดียวในอัชฌัต-
ตารัมมณติกะ แต่เพราะความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะ
(คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) จึงตรัสหมายถึงแม้ความเป็นอารมณ์อัน
เดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นในหนหลัง ฉะนั้น จึงแสดงความที่กุศลมีกามา-
วจรเป็นต้นเหล่านั้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะแม้ในอัชฌัตตารัมมณติกะนี้. จริง
อยู่ ธรรมอะไรเล่าจะเป็นข้อขัดขวางในความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น ที่จะเป็น
อารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นเป็นนวัตตัพพารรัมมณะ เมื่อตรัสถึง
อากิญจัญญายตนะนั้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบได้ว่ากุศลมีกามาพจร
นั้นเป็นอันตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ฉะนี้แล. คำที่เหลือในที่นี้โดยพระบาลีใน
อัชฌัตตารัมมณติกะมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ว่าด้วยการจำแนกอารมณ์จิตตุปบาท


ก็ว่าโดยการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ จิตตุปบาทเหล่านี้ คือ
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น 6 ด้วยสามารถแห่งกุศล
วิบากกิริยาก่อน พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) เพราะ
หน่วงเหนี่ยวสมาบัติเบื้องต่ำที่เนื่องด้วยสันดานของตนเป็นไป.
ก็ในบรรดาจิตตุปบาท 6 เหล่านี้ อากาสานัญจายตนะที่เป็นกิริยาย่อม
เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกิริยาเท่านั้น หาเป็นอารมณ์ของวิญ-