เมนู

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
เท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่. จตุตถฌานที่เป็นไปใน
อนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะอนาคตังสญาณนั้น
มีคติอย่างสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วย
ขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือนบุพเพนิวาสญาณ. ในบรรดาเจโตปริยญาณ
และอนาคตังญาณเหล่านั้น แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึง
อย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน 7 วันเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
อนาคตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่อง
ด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้. ฌาน 3 และฌาน 4
ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณ คือเป็นธรรมมีอา-
รมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรม
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันให้เป็นไป.

ว่าด้วยอัชฌัตติกะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นอัชฌัตติกะ ต่อไป
บทว่า อนินฺทฺริยพทฺธรูปญฺจ นิพฺพานญฺจ พหิทฺธา (รูปที่
ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพานที่เป็นธรรมภายนอก) นี้ ตรัสว่า ธรรมชาติ
นี้ ชื่อว่า พหิทธา (เป็นธรรมภายนอก) เพราะไม่มีปริยายแห่งธรรมภายใน
ที่เกิดในตน โดยประการที่ว่า ธรรมชาตินี้ จะจักเป็นธรรมภายในโดยปริยาย
อะไร ๆ ไม่ได้ เหมือนรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้จิตเรียกว่า เป็นธรรมภายนอก
เพราะมีในสันดานของบุคคลอื่นก็นับว่าเป็นธรรมภายใน เพราะความที่อินทรีย์
รูปนั้นเป็นธรรมชาติเนื่องด้วยสันดานของตน มิใช่เพราะเหตุที่ไม่เกิดแต่เพียง
เป็นภายในตน.

ส่วนในอัชฌัตตารัมมณติกะ ตรัสว่า เป็นพหิทธารมณ์ (ธรรมมี
อารมณ์เป็นภายนอก) ทรงหมายเพียงเหตุสักว่าการไม่เกิดขึ้นแก่ธรรมสักว่าเป็น
ภายในของตน. พระดำรัสที่ตรัสว่า อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า
มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้
เป็นต้น เพราะพระองค์มิยอมรับแม้ภาวะที่
เป็นภายใน แม้ภาวะที่เป็นภายนอก แม้ทั้งภายในทั้งภายนอกแห่งอารมณ์ของ
อากิญจัญญายตนะโดยเหตุเพียงการปราศจากธรรมภายในเท่านั้น.
ในบรรดาธรรมมีอากิญจัญญายตนะเป็นต้นเหล่านั้น อากิญจัญญายตนะ
นั้นนั่นแหละ ใช่ว่าจะเป็น นวัตตัพพารัมมณะอย่างเดียวก็หาไม่ แม้อาวัชชนะ
แม้อุปจารจิตทั้งหลายของอากิญจัญญายตนะนั้น แม้จิตที่พิจารณาอารมณ์ของ
อากิญจัญญายตนะนั้น แม้อกุศลจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอำนาจความยินดี
เป็นต้นของอากิญจัญญายตนะนั้นทั้งหมด ก็เป็นนวัตตพพารัมมณะ (คือเป็น
ธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น ก็ธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อตรัสถึงอากิญ-
จัญญายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงมิได้
ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.
ถามว่า ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน อย่างไร ?
ตอบว่า ก็อากิญจัญญายตนะ พึงมีอารมณ์อย่างเดียวกันกับธรรมชาติ
ที่เป็นปุเรจาริกของอากิญจัญญายตนะนั้น ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งธรรมมี
อาวัชชะ และอุปจาระเป็นต้น ธรรมนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า เป็นนวัตตัพพา-
รัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์พึงกล่าวไม่ได้ เพราะในอดีตารัมมณติกะ
ทรงรับรองความที่จิตตุปบาทเหล่านี้ ซึ่งตรัสไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรกุศล อกุศล
กิริยาจิตตุปบาท 9 ดวง จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ
โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ และ

เพราะตรัสถึงความที่อากิญจัญญายตนะเป็นเพียงนวัตตัพพารัมมณะโดยส่วนเดียว
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อากิญจัญญายตนะ มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ
และสามัญผลแม้ 4 ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอตีตารัมมณะ (คือไม่พึงกล่าวว่า
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ก็มี.
บัดนี้ อากิญจัญญายตนะนั้นแม้พระองค์จะตรัสไว้อย่างเดียวในอัชฌัต-
ตารัมมณติกะ แต่เพราะความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะ
(คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) จึงตรัสหมายถึงแม้ความเป็นอารมณ์อัน
เดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นในหนหลัง ฉะนั้น จึงแสดงความที่กุศลมีกามา-
วจรเป็นต้นเหล่านั้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะแม้ในอัชฌัตตารัมมณติกะนี้. จริง
อยู่ ธรรมอะไรเล่าจะเป็นข้อขัดขวางในความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น ที่จะเป็น
อารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นเป็นนวัตตัพพารรัมมณะ เมื่อตรัสถึง
อากิญจัญญายตนะนั้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบได้ว่ากุศลมีกามาพจร
นั้นเป็นอันตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ฉะนี้แล. คำที่เหลือในที่นี้โดยพระบาลีใน
อัชฌัตตารัมมณติกะมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ว่าด้วยการจำแนกอารมณ์จิตตุปบาท


ก็ว่าโดยการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ จิตตุปบาทเหล่านี้ คือ
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น 6 ด้วยสามารถแห่งกุศล
วิบากกิริยาก่อน พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) เพราะ
หน่วงเหนี่ยวสมาบัติเบื้องต่ำที่เนื่องด้วยสันดานของตนเป็นไป.
ก็ในบรรดาจิตตุปบาท 6 เหล่านี้ อากาสานัญจายตนะที่เป็นกิริยาย่อม
เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกิริยาเท่านั้น หาเป็นอารมณ์ของวิญ-