เมนู

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
เท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่. จตุตถฌานที่เป็นไปใน
อนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะอนาคตังสญาณนั้น
มีคติอย่างสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วย
ขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือนบุพเพนิวาสญาณ. ในบรรดาเจโตปริยญาณ
และอนาคตังญาณเหล่านั้น แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึง
อย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน 7 วันเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
อนาคตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่อง
ด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้. ฌาน 3 และฌาน 4
ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณ คือเป็นธรรมมีอา-
รมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรม
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันให้เป็นไป.

ว่าด้วยอัชฌัตติกะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นอัชฌัตติกะ ต่อไป
บทว่า อนินฺทฺริยพทฺธรูปญฺจ นิพฺพานญฺจ พหิทฺธา (รูปที่
ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพานที่เป็นธรรมภายนอก) นี้ ตรัสว่า ธรรมชาติ
นี้ ชื่อว่า พหิทธา (เป็นธรรมภายนอก) เพราะไม่มีปริยายแห่งธรรมภายใน
ที่เกิดในตน โดยประการที่ว่า ธรรมชาตินี้ จะจักเป็นธรรมภายในโดยปริยาย
อะไร ๆ ไม่ได้ เหมือนรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้จิตเรียกว่า เป็นธรรมภายนอก
เพราะมีในสันดานของบุคคลอื่นก็นับว่าเป็นธรรมภายใน เพราะความที่อินทรีย์
รูปนั้นเป็นธรรมชาติเนื่องด้วยสันดานของตน มิใช่เพราะเหตุที่ไม่เกิดแต่เพียง
เป็นภายในตน.