เมนู

ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ของบุคคลผู้ยินดีเพลิดเพลินปรารภบัญญัติ
ผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ในที่นี้ การยึดถือด้วยจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตไม่มีเพียง
อย่างเดียวเท่านั้น.
จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต 2 ดวง ย่อมเป็นธรรมมีอดีตเป็นต้น
เป็นอารมณ์แก่บุคคลผู้โทมนัสปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น, เป็น
ธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าวแก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสปรารภบัญญัติเป็นอารมณ์.
จิตตปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ในขณะเป็นไปในธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้นโดยความเป็นธรรมที่ตกลงใจไม่ได้ และความฟุ้งซ่าน ก็เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.
ว่าโดยกิรยา สเหตุกจิตตุปบาท 8 มีคติอย่างกุศลจิตตุปบาทนั่นแหละ.
กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในขณะเป็นไปด้วยอำนาจ
ทำโวฏฐัพพนกิจในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น. ใน
เวลาที่เป็นปุเรจาริกของชวนจิตที่มีธรรมเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอารมณ์
และมีบัญญัติเป็นอารมณ์ในมโนทวาร จิตเหล่านี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็น
อดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าด้วยจิตตุปบาทเป็นรูปาวจรจตุตถฌาน


ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาวจรมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌาน 5
เหล่านี้ คือ จตุตถฌานที่เป็นบาทแห่งธรรมทั้งปวง 1 จตุตถฌานที่เป็นไป
ในอากาสกสิณ 1 จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ 1 จตุตถฌานที่เป็นไป
ในพรหมวิหาร 1 จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ 1 เป็นนวัตตัพพา-
รัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น.