เมนู

ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอรูปาวจร และจตุตถฌานในความสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าวในที่พระบาลีมาแล้ว ๆ นั่นแหละ.
อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปุเรจาริก
(ประพฤติอยู่ข้างหน้า) แห่งกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด.
พึงทราบความต่างแห่งอารมณ์ของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคต
ด้วยอุเบกขานั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านั้นนั่น
แหละ. แต่ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะในทวาร 5 ย่อมมีอารมณ์เป็น
ปริตตะอย่างเดียวเท่านั้น. ฌาน 3 และฌาน 4 ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น มีอารมณ์
ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) เพราะเป็นไปปรารภนวัตตัพพธรรม (ธรรม
ที่ไม่พึงกล่าว) โดยความเป็นปริตตธรรมเป็นต้น. เพราะในฌาน 3 และ 4
แห่งรูปาวจรเหล่านี้ รูปาวจรทั้งหลายย่อมเป็นไปในปฐวีกสิณเป็นต้น อากาสา-
นัญจายตนะก็เป็นไปในการเพิกอากาศ อากิญจัญญายตนะก็เป็นไปในการปราศ
จากวิญญาณของอรูปฌาน ดังนี้แล.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะ


พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป
จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยญาณ 8 ที่ตรัสไว้ในเบื้องต้น เป็นธรรม
มีมรรคเป็นอารมณ์
(มัคคารัมมณะ) ในเวลาที่พระเสกขะและอเสกขบุคคล
พิจารณามรรคที่ตนแทงคลอดแล้ว แต่ไม่มีเหตุคือมรรค เพราะไม่เกิดพร้อม
กับมรรค ที่ชื่อว่า มคฺคาธิปติโน (มีมรรคเป็นอธิบดี) ด้วยอำนาจอารัมม-
ณาธิปติ ในการพิจารณากระทำมรรคที่ตนแทงตลอดแล้วให้หนักหน่วง ในเวลา
ที่ทำธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์บ้าง มีมรรค
เป็นอธิบดีบ้าง. อริยมรรค 4 เป็นธรรมมีเหตุเป็นมรรคโดยส่วนเดียว เพราะ

มีเหตุกล่าวคือมรรค หรือเหตุที่สัมปยุตด้วยมรรค. แต่ในเวลาที่เจริญมรรค
กระทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่เกิดพร้อมกับอธิบดีก็พึงมีมรรคเป็นอธิบดี
ในเวลาที่ทำฉันทะ หรือจิตตะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นใหญ่ ก็ไม่พึงกล่าวว่ามี
มรรคเป็นอธิบดีฉะนี้แล.
ในรูปาวจรจตุตถฌาน 12 อย่าง จตุตถฌาน 9 อย่างมีจตุตถฌานที่
เป็นบาทในธรรมทั้งปวงเป็นต้น ไม่เป็นมัคคารัมมณะ (ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์)
ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (ไม่มีเหตุคือมรรค) ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็น
อธิบดี). ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสญาณ และ
อนาคตังสญาณ มีมรรคเป็นอารมณ์ ในเวลาที่รู้มรรคจิตของพระอริยะ
ทั้งหลาย แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อม
กับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้
หนักเป็นไป.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จตุตถฌานทั้ง 3 นี้จึงไม่ทำมรรคให้หนัก
หน่วง.
ตอบว่า เพราะตนเป็นมหัคคตะ.
เหมือนอย่างชาวโลกทั้งหมดการทำพระราชาให้เป็นที่เคารพ ส่วน
พระมารดาและพระบิดาไม่ทรงกระทำความเคารพ เพราะพระมารดาบิดาเหล่านั้น
เห็นพระราชาแล้วก็ไม่ลุกจากอาสนะ ไม่กระทำอัญชลีเป็นต้น ย่อมตรัสเรียกโดย
นัยที่ตรัสเรียกในเวลาทรงพระเยาว์นั่นแหละฉันใด แม้จตุตถฌานทั้ง 3 ที่
เป็นไปในเจโตปริยญาณเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะ
ความที่ตนเป็นมหัคคตะ.

แม้อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (มโนทวาราวัชชนจิค) ก็เป็น
มัคคารัมมณะคือมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ
ทั้งหลายเป็นปุเรจาริกของปัจจเวกขณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุ
คือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิบดี (คือไม่มีมรรค
เป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักหน่วงเป็นไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร จิตนี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง.
ตอบว่า เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.
เหมือนพระราชา ชาวโลกทั้งปวงย่อมเคารพ แต่เด็กรับใช้ซึ่งเป็นคนเตี้ยค่อม
เป็นต้น ซึ่งข้าราชบริพารมิได้ทำความเคารพอย่างยิ่ง เหมือนผู้เป็นบัณฑิต
เพราะความที่ตนเป็นคนโง่ ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่ทำมรรค
ให้หนักหน่วง เพราะตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.
จิตตุปบาทที่เป็นกุศลไม่ประกอบด้วยญาณเป็นต้น ย่อมไม่ได้อารมณ์ที่
มีอารมณ์เป็นมรรคเป็นต้น เพราะไม่มีญาณและเพราะมีอารมณ์เป็นโลกิยธรรม
พึงทราบว่า จิตตุปบาทนี้ย่อมเป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้นฉะนี้แล.

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ


พึงทราบวินิจฉัยในอตีตารัมมณติกะ ต่อไป
ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรม
มีอารมณ์เป็นอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาสมาบัติที่เป็นอดีตในหน
หลังเป็นไป.
บทว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์เป็น
อนาคตโดยเฉพาะไม่มี) ความว่า ชื่อว่า จิตที่มีอารมณ์เฉพาะโดยที่กำหนดไว้
ไม่มี. ถามว่า ก็อนาคตังสญาณมีอารมณ์เป็นอนาคตโดยส่วนเดียว แม้จิตที่