เมนู

ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอรูปาวจร และจตุตถฌานในความสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าวในที่พระบาลีมาแล้ว ๆ นั่นแหละ.
อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปุเรจาริก
(ประพฤติอยู่ข้างหน้า) แห่งกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด.
พึงทราบความต่างแห่งอารมณ์ของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคต
ด้วยอุเบกขานั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านั้นนั่น
แหละ. แต่ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะในทวาร 5 ย่อมมีอารมณ์เป็น
ปริตตะอย่างเดียวเท่านั้น. ฌาน 3 และฌาน 4 ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น มีอารมณ์
ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) เพราะเป็นไปปรารภนวัตตัพพธรรม (ธรรม
ที่ไม่พึงกล่าว) โดยความเป็นปริตตธรรมเป็นต้น. เพราะในฌาน 3 และ 4
แห่งรูปาวจรเหล่านี้ รูปาวจรทั้งหลายย่อมเป็นไปในปฐวีกสิณเป็นต้น อากาสา-
นัญจายตนะก็เป็นไปในการเพิกอากาศ อากิญจัญญายตนะก็เป็นไปในการปราศ
จากวิญญาณของอรูปฌาน ดังนี้แล.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะ


พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป
จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยญาณ 8 ที่ตรัสไว้ในเบื้องต้น เป็นธรรม
มีมรรคเป็นอารมณ์
(มัคคารัมมณะ) ในเวลาที่พระเสกขะและอเสกขบุคคล
พิจารณามรรคที่ตนแทงคลอดแล้ว แต่ไม่มีเหตุคือมรรค เพราะไม่เกิดพร้อม
กับมรรค ที่ชื่อว่า มคฺคาธิปติโน (มีมรรคเป็นอธิบดี) ด้วยอำนาจอารัมม-
ณาธิปติ ในการพิจารณากระทำมรรคที่ตนแทงตลอดแล้วให้หนักหน่วง ในเวลา
ที่ทำธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์บ้าง มีมรรค
เป็นอธิบดีบ้าง. อริยมรรค 4 เป็นธรรมมีเหตุเป็นมรรคโดยส่วนเดียว เพราะ